สมรสเท่าเทียม การแต่งงานของชาว LGBTQ+ ในญี่ปุ่น

ชาว LGBTQ+ และคู่รักเพศเดียวกันนั้นเป็นที่รับรู้กันว่ามีอยู่ในสังคมญี่ปุ่นมาเป็นเวลาช้านาน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งการปฏิรูปบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิเปลี่ยนแปลงทัศนคติของชาวญี่ปุ่นที่มีต่อพฤติกรรมรักเพศเดียวกันให้คล้อยไปตามแนวคิดของวัฒนธรรมตะวันตกมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อมองจากบริบททางกฎหมาย ของญี่ปุ่นในปัจจุบัน สถานะของคู่รักเพศเดียวกันต้อง ตกอยู่ในสภาวะไร้ตัวตน อันเป็นผลจากแนวคิด เกี่ยวกับสถาบันครอบครัวที่ไม่เปิดช่องให้แก่คู่รัก ประเภทอื่นนอกจากคู่รักชายหญิง และได้รับอิทธิพล อย่างมากจากรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ค.ศ. 1947 จนกลาย เป็นแนวคิดที่ได้ฝังลึกในระบบกฎหมายญี่ปุ่น ใน ขณะเดียวกัน ผลจากการแสวงหาความคุ้มครองตาม กฎหมายของคู่รักเพศเดียวกัน นำไปสู่รูปแบบทาง เลือกของคู่รักเพศเดียวกันในสังคมญี่ปุ่น

สารบัญ

LGBTQ+ ในญี่ปุ่น

LGBTQ+ เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ยอมรับกันอย่างแพร่หลายมากนักในญี่ปุ่น ซึ่งการเป็น LGBTQ+ ที่ญี่ปุ่นอาจจะส่งผลต่อเรื่องการทำงานได้ ดังนั้นเราอาจจะไม่ได้พบเห็นชาว LGBTQ+ ได้ทั่วไปมากนัก ชาวLGBTQ+ ที่ญี่ปุ่นจะมีสถานที่รวมตัวกันโดยเฉพาะ เช่นในโตเกียวก็จะพบชาว LGBTQ+ ได้ที่ชินจุกุนิโจเมะ ซึ่งเป็นที่รวมตัวของกลุ่ม LGBTQ+ และมีร้านสำหรับชาว LGBTQ+ มากมายที่นี่ และคุณจะต้องแปลกใจว่าชายหนุ่มใส่สูทมาดแมนมากมายเมื่อมาที่นี่ก็จะเปลี่ยนไปเป็นคนละคน หรือไม่ก็จะมีการเช่าตู้ล็อกเกอร์สำหรับเก็บชุดส่วนตัวสำหรับเปลี่ยนก่อนที่จะมาที่นี่ และจากการที่ได้พูดคุยกับชาว LGBTQ+ ญี่ปุ่นหลายคนมีครอบครัวที่มีความสุขมีลูก มีสามีภรรยาที่แสนดี ที่เข้าใจในสิ่งที่เขาเป็นอีกด้วย

สมรสเท่าเทียมคือ

สมรสเท่าเทียม เป็นแนวคิดการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ที่มนุษย์คนหนึ่งอยากสร้างครอบครัวหรือมีคู่ชีวิต โดยได้รับสิทธิพื้นฐานทางกฎหมาย อย่างไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเพศ เรียกได้ว่าเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ สู่ความเสมอภาคอย่างแท้จริง เช่น สิทธิในการหมั้น สิทธิในการจดทะเบียนสมรส สิทธิในการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส สิทธิในการเป็นทายาทโดยธรรม การรับบุตรบุญธรรม และการรับมรดกจากคู่สมรส ซึ่งการแก้ไขนี้ จะทำให้สิทธิของบุคคลทุกคนเกิดความเท่าเทียม และได้รับการรับรองและคุ้มครองทางกฎหมาย สอดคล้องกับหลักความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมายและหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

สมรสเท่าเทียมทั่วโลก

หลายประเทศทั่วโลกกำลังขับเคลื่อนเรื่องสมรสเท่าเทียม ประเทศที่คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสแบบถูกต้องตามกฎหมายถึง 30 ประเทศ โดยเนเธอร์แลนด์ถือเป็นประเทศแรกที่เริ่มใช้ในปี 2011 ก่อนจะมีอีกหลากหลายประเทศประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวในเวลาต่อมา โดยที่ 30 ประเทศ ที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีดังต่อไปนี้

รัฐธรรมนูญและการแต่งงานของเพศเดียวกันในไทย

ในประเทศไทยแรกเริ่มเดิมทีการสมรสเท่าเทียมเกิดจากภาคประชาชน ที่มีคู่หญิงรักหญิงไปจดทะเบียนสมรสซึ่งถูกปฏิเสธและไม่ได้รับการจดทะเบียน เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ระบุว่า การสมรสจะทำได้ระหว่างชายและหญิงเท่านั้น คุณธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้รับฟังปัญหาของประชาชนและกลับมาทำการบ้าน ก่อนจะพัฒนาร่าง พ.ร.บ.ให้สมบูรณ์ และยื่นร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตราที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) บัญญัติว่า “สามีและภรรยา” เป็น “คู่สมรส” มีการปรับถ้อยคำจากคำว่า “ชาย” หรือ “หญิง” เป็น “บุคคล” ซึ่งการแก้ไขนี้ จะทำให้สิทธิของบุคคลทุกคนเกิดความเท่าเทียม และได้รับการรับรองและคุ้มครองทางกฎหมาย โดยที่มีสาระสำคัญดังนี้ การแก้ไขรายละเอียดจากเดิมที่ระบุ ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา เป็น ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส มีการปรับถ้อยคำจาก ชายหรือหญิง เป็น บุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสมรสระหว่างบุคคล แก้ไขในส่วนของการหมั้นจากเดิมที่ระบุ ชายและหญิง ได้กำหนดศัพท์ขึ้นใหม่เป็น ผู้หมั้นและผู้รับหมั้น แทน แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่ผ่านสภาฯแต่อย่างใด LGBTQ+ในประเทศไทยก็ยังคงต้องรอกันต่อไป

การสมรสระหว่างคู่รักเพศเดียวกันในญี่ปุ่น

การสมรสระหว่างคู่รักเพศเดียวกันในญี่ปุ่น ตามบริบททางกฎหมายนั้นผลจากการขาดการรับรองสิทธิให้แก่คู่รักเพศเดียวกันตามกฎหมาย นำไปสู่การเกิดรูปแบบทางเลือกเพื่อแสวงหาความคุ้มครองตามกฎหมายสองประการ คือ การรับคู่รักอีกฝ่ายเป็นบุตรบุญธรรม และการทำตราสารข้อตกลงใช้ชีวิตร่วมกัน ถึงแม้ในตอนนี้คู่รักเพศเดียวกันในญี่ปุ่นยังไม่สามารถจดทะเบียนสมรสแบบถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็มีการออกหนังสือรับรองการใช้ชีวิตร่วมกันในสถานะคู่ชีวิตให้ระหว่างคู่รักเพศเดียวกันในญี่ปุ่น โดยผลของการออกหนังสือรับรองการใช้ชีวิตร่วมกันในสถานะคู่ชีวิตโดยเขตชิบุยะ กรุงโตเกียว ในปี 2015 ที่แม้จะไม่ก่อให้เกิดความผูกพันตามกฎหมายครอบครัว แต่ก่อให้เกิดพัฒนาการที่สำคัญอีกก้าวหนึ่งของการรับรองสิทธิแก่คู่รักเพศเดียวกันในญี่ปุ่น อันอาจนำไปสู่กระบวนการทางนิติบัญญัติในรูปของกฎหมายบันทึกทะเบียนคู่ชีวิตหรือการขยายสิทธิในการสมรสให้แก่คู่รักเพศเดียวกันในที่สุด โดยที่ญี่ปุ่น ณ เดือนกันยายน 2019 การออกหนังสือรับรองการใช้ชีวิตร่วมกันในสถานะคู่ชีวิตมีอยู่ใน 26 เมือง นอกจากนี้ยังมีรัฐบาลท้องถิ่นอื่นๆ ที่ตัดสินใจใช้มาตรการที่คล้ายคลึงกัน ที่สามารถออกหนังสือรับรองการใช้ชีวิตร่วมกันในสถานะคู่ชีวิต สามารถตรวจสอบได้ที่นี่ 

นักเขียน

WeXpats
นำเสนอบทความที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำงาน และการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น รวมไปจนถึงบทความแนะนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บทความพิเศษ 特集

บทความยอดนิยม 人気記事

โซเชียลมีเดีย ソーシャルメディア

นำเสนอข้อมูลล่าสุดในญี่ปุ่นใน 9 ภาษา!

  • English
  • 한국어
  • Tiếng Việt
  • မြန်မာဘာသာစကား
  • Bahasa Indonesia
  • 中文 (繁體)
  • Español
  • Português
  • ภาษาไทย
TOP/ วัฒนธรรมญี่ปุ่น/ ความเป็นญี่ปุ่น/ สมรสเท่าเทียม การแต่งงานของชาว LGBTQ+ ในญี่ปุ่น

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของเว็บไซต์ของเรา โปรดคลิก "ยอมรับ" เพื่อยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราโปรดคลิกที่นี่

นโยบายการใช้คุกกี้