ประสบการณ์ชีวิตในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น!

สี่ปีในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ วัฒนธรรมทั่วไปของนักศึกษามหาวิทยาลัยทั่วโลกจะต่างจากวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยญี่ปุ่นอย่างไร เรามาดูชีวิตในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นกัน!!

สารบัญ

ชีวิตในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น ปีที่ 1

サークル (Sākuru)

อาจจะเรียกว่าเป็นชมรมซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างจากไทยนัก โดยส่วนใหญ่เป็นการรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจเช่น

กีฬา: เบสบอล ฟุตบอล สกี สโนว์บอร์ด ยูโด เคนโด้ ฯลฯ

วัฒนธรรม : ภาพยนตร์, ละคร, เต้นรำ, ศิลปะ, วรรณกรรม, ศิลปะดั้งเดิม, การถ่ายภาพ, มายากล, การจัดดอกไม้ฯลฯ

อาสาสมัคร (ボランティア Volunteer): สถานพยาบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก การช่วยเหลือภัยพิบัติ ฯลฯ 

สาขาวิชา: อังกฤษ กฎหมาย ประวัติศาสตร์ การเมือง สื่อ คณิตศาสตร์ ภาษา การเงิน ฯลฯ

ภาษาอังกฤษ: ESS (สมาคมพูดภาษาอังกฤษ/ สมาคมเรียนภาษาอังกฤษ) ส่วนใหญ่เป็นวงสนทนาภาษาอังกฤษ

สื่อ: การกระจายเสียง, การโฆษณา

การวางแผน/กิจกรรม: จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การเดิน มาราธอน การประกวดตอบคำถาม และการประกวดดาวเดือนมหาวิทยาลัย

วัฒนธรรมย่อย: อนิเมะ, เกม

学食 (Gakushoku)

ถึงเวลามา 'เรียนรู้' หนึ่งในความสุขของชีวิตมหาลัย! แต่ละมหาวิทยาลัยมีระบบการศึกษาของตนเอง มีโรงอาหารไม่กี่แห่งที่คนทั่วไปสามารถเข้าได้ ดังนั้น ควรลองสัมผัสประสบการณ์โรงอาหารมหาลัยอย่างน้อยสักหนึ่งครั้ง

มหาวิทยาลัยวาเซดะ อันทรงเกียรติของญี่ปุ่นนอกจากขึ้นชื่อเรื่องศึกษาการเรียนรู้ ยังมีเมนูของโรงอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถเลือกได้ และเป็นที่ชื่นชอบของนักศึกษา

バイト (Baito)

ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยอีกหนึ่งประสบการณ์ที่ไม่ควรพลาดคือการทำงานพิเศษหรือพาร์ทไทม์ งานพิเศษที่นิยมในหมู่นักเรียนต่างชาติ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และโรงแรม แต่วีซ่านักเรียนจะถูกกำหนดชั่วโมงทำงานไว้ที่ ช่วงเปิดเทอมสามารถทำงานพิเศษในญี่ปุ่นได้สัปดาห์ละไม่เกิน 28 ชั่วโมง ส่วนช่วงปิดเทอม รวมถึงช่วงหยุดยาวอย่างเช่นปีใหม่ โกลเด้นวีค โอบ้ง วันหยุดราชการยาวๆ สามารถทำงานพิเศษในญี่ปุ่นได้สัปดาห์ละไม่เกิน 40 ชั่วโมง อ่านเพิ่มเติมได้ที่

วีซ่านักเรียนกับการทำงานพิเศษที่ญี่ปุ่น

งานพิเศษแนะนำสำหรับผู้ที่มาเรียนต่อที่ญี่ปุ่น

ชีวิตในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น ปีที่ 2

成人式 (Seijin-shiki)

ประสบการณ์ชีวิตในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นในอดีตในปีที่ 2 จะพบกับพิธีบรรลุนิติภาวะ 成人式 (Seijin-shiki) ที่จะจัดสำหรับคนที่อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงอายุของพิธีบรรลุนิติภาวะ 成人式 (Seijin-shiki) เป็นอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2022 เป็นต้นมา ดังนั้นสิ่งนี้จะเป็นประสบการณ์ที่หายไปจากชีวิตในมหาวิทยาลัย แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นแทนคือโดยนักศึกษาในมหาวิทยาลัยส่วนมากจะอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งสามารถจะดื่มแอลกอฮอล์สังสรรค์ได้

ディズニー (Disney)

ทำไมต้องดิสนีย์? เป็นเรื่องปกติของญี่ปุ่นที่จะไปเที่ยวดิสนีย์กันเป็นกลุ่มและแต่งตัวเหมือนกันที่เรียกว่า ดิสนีย์ โคดี้ ディズニーコーディ (Dizunīkōdi) พอขึ้นปี2 แล้วก็จะเริ่มสนิทกับเพื่อนในมหาวิทยาลัย และโดยส่วนมากจะนิยมจับกลุ่มแต่งตัวเหมือนกันที่เรียกว่า ディズニーコーディ (Dizunīkōdi) ไปเที่ยวดิสนีย์กันโดยจะพบเห็นได้บ่อยครั้ง การแต่งตัวในชุดที่เข้ากันเพื่อถ่ายรูปให้ออกมาสวยงาม

ชีวิตในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น ปีที่ 3

ゼミ・合宿 (Zemi ・Gasshuku)

ゼミ・合宿 (Zemi ・Gasshuku) จะเป็นการเข้าค่ายสัมมนาเพื่อการเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อสำเร็จการศึกษา คุณจะได้รับการแต่งตั้งและคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อการเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อสำเร็จการศึกษาและการหางานในอนาคต

インターン (Intān)

インターン (Intān) ฝึกงาน โดยทั่วไปแล้วการฝึกงานไม่ได้เป็นกิจกรรมบังคับสำหรับทุกคนแต่การฝึกงานเป็นการเพิ่มโอกาสในการจ้างงานหลังจากการจบการศึกษา โดยที่นักศึกษาส่วนใหญ่มักจะได้งานในสถานที่ที่ตนไปฝึกงาน

文化祭 (Bunkasai)

文化祭 (Bunkasai) เป็นเทศกาลของมหาวิทยาลัย เมื่อปิดเทอมฤดูร้อนและเปิดเทอมฤดูใบไม้ร่วง มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นก็เต็มไปด้วยบรรยากาศของเทศกาลของมหาวิทยาลัย กันยายน-พฤศจิกายน. ที่เริ่มต้นขึ้น โดยในเทศกาลนี้มีกิจกรรมหลากหลาย ทั้งดนตรี อาหารเครื่องดื่มจำหน่าย และมีเกมส์ให้เล่น

ชีวิตในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น ปีที่ 4

就活 (Shūkatsu)

就活 (Shūkatsu) การหางาน ในญี่ปุ่นนักศึกษามักจะเริ่มหางานตั้งแต่ปี 3-4 นักศึกษามหาวิทยาลัยญี่ปุ่นก็เริ่มกิจกรรมการหางานอย่างจริงจัง นี่คือฤดูกาลหางาน เมื่อคุณจัดตารางการสัมภาษณ์และการสรุปงานต่างๆ และชุดสำหรับการสัมภาษณ์จะกลายเป็นเรื่องประจำวันของคุณ แม้ว่าระยะเวลาจะแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัทและสำหรับแต่ละคน แต่ก็มีหลายคนที่ได้รับการแจ้งเตือนการตอบรับในช่วงปิดเทอมฤดูร้อนของปีที่ 4 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พอได้รับการตอบรับเข้าทำงานแล้วก็ต้องทำวิทยานิพนธ์ให้เสร็จ ลงทะเบียนที่สถาบันสอนใบขับขี่ประเภทค่ายเพื่อรับใบอนุญาตขับรถ และแม้กระทั่งวางแผนการทริปจบการศึกษา เพื่อสำเร็จประสบการณ์ชีวิตในวิทยาลัยอย่างครบถ้วน

卒業旅行 (Sotsugyō ryokō)

卒業旅行 (Sotsugyō ryokō) เป็นทริปจบการศึกษา โดยส่วนมากนักศึกษามหาวิทยาลัยจะจัดทริปจบการศึกษาไปท่องเที่ยวกับเพื่อนก่อนที่จะเข้าสู่ชีวิตการทำงาน โดยส่วนมากทำงานพิเศษอย่างหนักเพื่อเก็บออมเงินเป็นจำนวนมากและออกไปสัมผัสวัฒนธรรมในต่างประเทศ

การเรียนต่อในประเทศญี่ปุ่นและประสบการณ์ชีวิตในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่หลายคนใฝ่ฝันและการเตรียมตัวก่อนมาเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น นั้นก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ การเตรียมตัวก่อนมาเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น

นักเขียน

WeXpats
นำเสนอบทความที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำงาน และการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น รวมไปจนถึงบทความแนะนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บทความพิเศษ 特集

บทความยอดนิยม 人気記事

โซเชียลมีเดีย ソーシャルメディア

นำเสนอข้อมูลล่าสุดในญี่ปุ่นใน 9 ภาษา!

  • English
  • 한국어
  • Tiếng Việt
  • မြန်မာဘာသာစကား
  • Bahasa Indonesia
  • 中文 (繁體)
  • Español
  • Português
  • ภาษาไทย
TOP/ การศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น/ ชีวิตนักศึกษาในญี่ปุ่น/ ประสบการณ์ชีวิตในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น!

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของเว็บไซต์ของเรา โปรดคลิก "ยอมรับ" เพื่อยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราโปรดคลิกที่นี่

นโยบายการใช้คุกกี้