คินสึงิ (Kintsugi) ศิลปะความงามในความไม่สมบูรณ์แบบของญี่ปุ่น

ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่สมบูรณ์แบบ คินสึงิ (Kintsugi) เป็นศิลปะญี่ปุ่นที่ช่วยทำให้เห็นความงดงามในความไม่สมบูรณ์แบบของญี่ปุ่น คินสึงิ (Kintsugi) ศิลปะความงามในความไม่สมบูรณ์แบบของญี่ปุ่นคือเทคนิคซ่อมแซมเครื่องปั้นดินเผาที่แตกหักด้วยทองคำแบบญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 15 คินสึงิยังสื่อถึงชีวิตมนุษย์ที่ล้วนพบกับความผิดพลาดและล้มเหลวกันมาแล้วทั้งนั้น บทเรียนที่ทำให้คนได้เรียนรู้และแก้ไขในสิ่งที่ตัวเองทำผิดพลาด เช่นเดียวกับการเข้าใจถึงความแตกหักและการซ่อมแซมเครื่องปั้นดินเผาที่แตกบิ่นเสียหายให้กลับมาใช้การได้อีกครั้ง

■ คินสึงิคืออะไร

คินสึงิ (Kintsugi 金継ぎ) ศิลปะในการซ่อมแซมเครื่องปั้นดินเผาด้วยเทคนิคดั้งเดิมของญี่ปุ่นเป็นการใช้ยางไม้ที่เรียกว่าอุรุชิ (漆うるし) จะตกแต่งพื้นผิวด้วย "ผงทอง” หรือผงโลหะอื่น ๆเช่น ผงเงิน หรือผงทองคำขาวมาผสานรอยแตกร้าวของภาชนะนั้นๆ คินสึงิ (Kintsugi 金継ぎ) มาจากคำว่า 金 (kin) ที่แปลว่าทองคำ และคำว่า 継ぎ (tsugi) ที่แปลว่า ต่อเข้าด้วยกัน

■ ความเป็นมาของคินสึงิ

อันที่จริงการซ่อมแซมภาชนะที่แตกด้วยยางไม้ที่เรียกว่าอุรุชิ (漆うるし)ได้ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยโจมง มีการขุดพบภาชนะเครื่องปั้นดินเผาในสมัยโจมงจำนวนมากที่ซ่อมแซมด้วยยางไม้อุรุชิ แต่การซ่อมเครื่องปั้นดินเผาที่แตกในยุคนี้ไม่ได้ "ประดับด้วยผงทอง" ส่วนคินสึงินี้ ว่ากันว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยโชกุน อาชิคางะ โยชิมาสะ ช่วงศตวรรษที่ 15 ได้ส่งถ้วยชามที่แตกแล้วไปซ่อมที่จีน จากนั้นจีนก็ส่งถ้วยชามที่ซ่อมด้วยการใช้ลวดเย็บแปะมาตามรอยแตกกลับมายังญี่ปุ่น ทำให้ช่างฝีมือญี่ปุ่นต้องนำกลับมาซ่อมใหม่ให้สวยงามขึ้นด้วยเทคนิคคินสึงิ (Kintsugi 金継ぎ) นั่นเอง

■ ข้อดีของการเรียนคินสึงิ

ข้อดีที่ได้จากการเรียนรู้วิธีการทำคินสึงิ อย่างแรกเลยคือสามารถซ่อมภาชนะที่สำคัญที่เต็มไปด้วยความทรงจำต่างๆได้ด้วยตัวเอง เมื่อเทียบกับเทคนิคงานฝีมืออื่นๆ มีเทคนิคและขั้นตอนค่อนข้างน้อยที่ต้องจำจึงค่อนข้างง่ายต่อการเรียนรู้และใช้พื้นที่ไม่มากสามารถทำได้ที่บ้าน ขั้นตอนเรียบง่ายและใช้เทคโนโลยีต่ำซึ่งไม่ต้องการอุปกรณ์ขนาดใหญ่หรือเครื่องจักรราคาแพง เนื่องจากเป็น "การซ่อมแซม" มากกว่า "การผลิตงาน" และคุณสามารถเพลิดเพลินกับมันโดยไม่ต้องกังวลกับมันมากนัก และที่สำคัญยังมีเพียงไม่กี่คนที่เชี่ยวชาญเทคนิคคินสึงินี้ ดังนั้นหากคุณเชี่ยวชาญ คุณจะกลายเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่หายากมากขึ้นมาทันที

■ ข้อเสียของการเรียนคินสึงิ

ข้อเสียของการทำคินสึงินั้นมีค่อนข้างน้อย แม้ว่าขั้นตอนการทำจะง่ายเมื่อเทียบกับงานฝีมืออื่นๆ แต่ก็ยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ เพราะการทำคินสึงิออกมาให้สวยงามนั้นต้องใช้เทคนิคและการเรียนรู้อีกมาก การใช้ยางอุรุชิในการซ่อมแซมภาชนะที่แตกนั้น ตรงที่ใช้ยางไม้อุรุชินั้นมีโอกาสที่จะโป่งพองออกมาได้ง่ายมากขึ้นอยู่กับเทคนิคการผสมยางไม้อุรุชิ มีไม่กี่คนที่จะประสบความสำเร็จในกาทำตั้งแต่ครั้งแรก การทำคินสึงินั้นถือว่าใช้เวลาในการซ่อมแซมภาชนะค่อนข้างมาก จึงถือว่าเป็นการทำงานฝีมือที่ต้องฝึกความอดทนในการรอแบบหนึ่ง

■ ขั้นตอนการทำคินสึงิ

ขั้นตอนการซ่อมแซมภาชนะด้วยเทคนิคคินสึงินั้นมีเพียงไม่กี่ขั้นตอนดังนี้

  1. ประกอบชิ้นส่วนที่แตกเข้าด้วยกันก่อน

  2. ทาด้วยเบสเรซิ่นหรือวัสดุอื่นสำหรับเชื่อมต่อตามช่องว่างของชิ้นส่วนต่างๆ

  3. ทาด้วยยางไม้อุรุชิ (漆うるし) เพื่อเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆ

  4. ปิดท้ายด้วยผงทอง

■ คินสึงิแบบไหนที่ทำได้และทำไม่ได้

สิ่งของที่สามารถซ่อมแซมโดยเทคนิคคินสึงิ (Kintsugi) ได้ โดยปกติก็สามารถซ่อมได้เกือบทุกอย่าง เช่น เครื่องปั้นดินเผาโดยทั่วไป สามารถซ่อมแซมได้, เครื่องแก้ว โดยทั่วไปก็ซ่อมได้ แต่มีขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก, เครื่องไม้ บางอย่างก็ซ่อมได้,เครื่องเคลือบ สามารถซ่อมได้ แต่ยุ่งยาก แม้แต่พลาสติกเองก็สามารถซ่อมได้เช่นกัน

ข้อยกเว้นสำหรับภาชนะที่ไม่สามารถซ่อมแซมโดยเทคนิคคินสึงิได้ มีดังนี้ 1. สิ่งของที่โดนไฟโดยตรง (เช่น หม้อดิน) 2. สิ่งของที่โดนไอน้ำ (เช่น ฝา,กาน้ำชา) 3. ชิ้นส่วนที่แช่น้ำเป็นเวลานาน (แจกัน ฯลฯ)

คินสึงิ (Kintsugi) เป็นศิลปะแบบญี่ปุ่นที่แสดงถึงวัฒนธรรมการซ่อมแซมเครื่องปั้นดินเผาแบบญี่ปุ่น แสดงถึงความงามในความไม่สมบูรณ์ มีขั้นตอนและวิธีการที่ไม่ยาก เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการเรียนรู้ถึงศิลปะแบบญี่ปุ่น

นักเขียน

WeXpats
นำเสนอบทความที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำงาน และการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น รวมไปจนถึงบทความแนะนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บทความที่เกี่ยวข้อง 関連記事

บทความพิเศษ 特集

บทความยอดนิยม 人気記事

โซเชียลมีเดีย ソーシャルメディア

นำเสนอข้อมูลล่าสุดในญี่ปุ่นใน 9 ภาษา!

  • English
  • 한국어
  • Tiếng Việt
  • မြန်မာဘာသာစကား
  • Bahasa Indonesia
  • 中文 (繁體)
  • Español
  • Português
  • ภาษาไทย
TOP/ วัฒนธรรมญี่ปุ่น/ วัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม/ คินสึงิ (Kintsugi) ศิลปะความงามในความไม่สมบูรณ์แบบของญี่ปุ่น

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของเว็บไซต์ของเรา โปรดคลิก "ยอมรับ" เพื่อยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราโปรดคลิกที่นี่

นโยบายการใช้คุกกี้