ซูโม่มีต้นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นเป็นรูปแบบกีฬาที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้อาจจะเรียกซูโม่ว่าเป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดราวต้นศตวรรษที่ 7 เดิมทีเป็นพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าทางการเกษตรกร เปลี่ยนเป็นการชมกีฬาในงานพิธีของราชสำนักในช่วงเซนโกคุ การเข้าชมการแข่งขันซูโม่เป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่ดีที่สุดเมื่อมาเยือนญี่ปุ่น
สารบัญ
■ ประวัติของซูโม่
Sumo (相撲) แปลว่า "การปะทะกัน" เป็นหนึ่งในกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายศตวรรษ กล่าวกันว่ากีฬาชนิดนี้มีมาตั้งแต่เมื่อ 1,500 - 2,000 ปีก่อน พิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าทางการเกษตรกร ทำนายการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรในปีนั้นๆ พัฒนาเป็นความบันเทิงในรูปแบบของการชมกีฬาในงานพิธีของราชสำนักในช่วงเซนโกคุ ซูโม่ยังถูกใช้เป็นรูปแบบหนึ่งของการฝึกนักรบสำหรับซามูไร ในสมัยเอโดะ ซูโม่ได้รับการฝึกฝนทั่วประเทศและได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาประจำชาติ
บทความแนะนำ
■ ลำดับขั้นของซูโม่
บันซึเกะ (番付)
บันซึเกะ (番付) เป็น การจัดอันดับของนักมวยปล้ำซูโม่อย่างเป็นทางการ โดยรายละเอียด จะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ Sekitori (関取) และ Riki shōseiin (力士養成員) โดยมีลำดับ6ขั้น (階級; kaikyu) และ 10 แบบ (格付け; kakuzuke)
Sekitori (関取)
Sekitori (関取) เซกิโทริ คือนักซูโม่มืออาชีพ ที่มีระดับตั้งแต่ Juryo (十両) ขึ้นไป โดยจะได้รับเงินเดือนตามลำดับขั้น และจำนวนชนะการแข่งขัน โดยรายได้เฉลี่ยต่อปีของนักมวยปล้ำซูโม่ตามอันดับ:
อันดับซูโม่ |
เงินเดือนประจำปี (ล้านเยน) |
Yokozuna (横綱) |
3 ~ 36 |
Ozeki (大関) |
2.5 ~ 30 |
Sekiwake (関脇) / Komusubi (小結) |
1.8 ~ 21.6 |
Maegashira (前頭) |
1.4 ~ 16.8 |
Juryo (十両) |
1.1 ~ 13.2 |
Riki shōseiin (力士養成員)
Riki shōseiin (力士養成員) คือสมาชิกฝึกหัดซูโม่ที่มีระดับอยู่ต่ำกว่า Makushita (幕下) นักซูโม่สามารถรับเงินเดือนได้ก็ต่อเมื่อกลายเป็นเซกิโทริระดับ 'จูเรียว' ขึ้นไป ซึ่งไม่ใช่สมาชิกฝึกหัดซูโม่อีกต่อไป แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นสมาชิกฝึกหัดซูโม่ก็ยังสามารถรับเงินช่วยเหลือได้ที่ 990,000 เยนต่อปี ในขณะที่เงินเดือนของเซกิโทริระดับ 'จูเรียว' จะสูงถึง 12 ล้านเยนต่อปี สำหรับนักซูโม่ที่กระตือรือร้นในการฝึกหากคุณกลายเป็นเซกิโทริ ชีวิตของคุณจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
อันดับขั้นและจำนวนนักซูโม่ที่กำหนด
อันดับ |
จำนวนที่กำหนด |
|||
Sekitori (関取) |
Makunouchi/Makuuchi (幕内) |
Yokozuna (横綱) |
ไม่กำหนด (ไม่มีก็ได้) |
42 คน |
Ozeki (大関) |
ไม่กำหนด (ต้องมีอันดับที่ต่ำกว่า 2 คน) |
|||
Sekiwake (関脇) |
ไม่กำหนด (ต้องมีอันดับที่ต่ำกว่า 2 คน) |
|||
Komusubi (小結) |
ไม่กำหนด (ต้องมีอันดับที่ต่ำกว่า 2 คน) |
|||
Maegashira (前頭) |
ไม่กำหนด |
|||
Juryo (十両) |
28 คน |
|||
Riki shōseiin (力士養成員) |
Makushita (幕下) |
120 คน |
||
Sandanme (三段目) |
180 คน |
|||
Jonidan (序二段) |
ไม่กำหนด |
|||
Jonokuchi (序ノ口) |
ไม่กำหนด |
■ คำศัพท์พื้นฐานของซูโม่
ซูโม่เป็นกีฬาแบบดั้งเดิมและศิลปะการป้องกันตัวที่มีประวัติยาวนานกว่า 1,500 ปีและมีคำศัพท์และสำนวนที่ใช้ในซูโม่เท่านั้น
相撲を取る(ซุโมะ โอะ โทรุ)
ประโยคที่มีความหมาย เช่น 'กำลังเล่นซูโม่'
力士 (ริคิชิ)
หมายถึง นักซูโม่
四股名 (ชิโคะนะ)
เป็นชื่อที่ใช้ในการแข่งซูโม่ของนักซูโม่
相撲部屋 (ซูโมะเบยะ)
เป็นชื่อสังกัดของซูโม่ เมื่อซูโม่เข้าสังกัดใดแล้วไม่มีโอกาสย้ายสังกัดเหมือนนักฟุตบอล หากต้องการออกจากสังกัดคือการลาออกจากการเป็นซูโม่
土俵 (โดเฮียว)
เวทีซูโม่ทำจากดินที่อัดสร้างเป็นเวทีสี่เหลี่ยม ตรงกลางมีวงกลมที่ทำจากฟางที่เรียกว่าโดเฮียว (土俵) หากนักซูโม่ก้าวเท้าออกนอกวงกลมนี้เมื่อไหร่จะถือว่าแพ้ เนื่องจากซูโม่มาจากพิธีกรรมทางศาสนาชินโต สังเวียนนี้จึงห้ามผู้หญิงเข้าไปโดยเด็ดขาด
大相撲 (โอซุโมะ)
การแข่งขันซูโม่ทัวร์นาเมนท์ใหญ่ของญี่ปุ่น มีการขายตั๋วให้กับผู้ชม โดยหมายถึงการแข่งขันที่จัดโดยสมาคมซูโม่ของประเทศญี่ปุ่น
本場所 (ฮงบาโชะ)
เป็นการแข่งขันซูโม่ปกติที่จัดขึ้นโดยสมาคมซูโม่ของประเทศญี่ปุ่น เป็นการแข่งขันซูโม่ที่สำคัญสำหรับนักซูโม่ การจัดอันดับจะเพิ่มขึ้นและรางวัลของนักมวยปล้ำจะถูกเพิ่มขึ้นจากผลการแข่งขันในที่แห่งนี้ มีการกำหนดการแข่งขัน 6 รอบต่อปี ในเดือนมกราคม, มีนาคม, พฤษภาคม, กรกฎาคม, กันยายน, พฤศจิกายน
取組 (โทริคุมิ)
การแบ่งสายการแข่งขันซูโม่
土俵入り (โดเฮียวอิริ)
เป็นพิธีกรรมที่ดำเนินการบนเวทีซูโม่ก่อนการแข่งขันโดยนักมวยปล้ำซูโม่ตั้งแต่จูเรียวขึ้นไป
横綱土俵入り (โยโกซุนะ โดเฮียวอิริ)
เป็นพิธีกรรมที่ดำเนินการบนเวทีซูโม่ก่อนการแข่งขันโดยนักมวยปล้ำซูโม่ระดับโยโกซุนะซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในซูโม่
満員御礼 (มังอิน องเร)
ข้อบ่งชี้ว่าจำนวนผู้เข้าชมถึงจำนวนหนึ่งที่งานกำหนดไว้แล้ว ไม่ได้หมายถึงเต็มทุกที่นั่ง
■ การตัดสินและการฝึกของซูโม่
กฎของซูโม่เป็นแบบตรงไปตรงมา คือ นักซูโม่คนแรกที่ก้าวเท้าออกนอกวงแหวนหรือมีส่วนต่างๆ ของร่างกายยกเว้นเท้าแตะพื้นก่อนจะเป็นผู้แพ้
การแข่งขันและการตัดสิน
ก่อนแข่งขันนักซูโม่จะโรยเกลือลงพื้นเวทีซูโม่เพื่อเป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้าย จากนั้นจะยกขากระทืบพื้นทีละข้างแล้วนั่งยองๆ และวางกำปั้นสองข้างลงบนพื้น ในตำแหน่งท่าเตรียมพร้อม เมื่อกรรมการให้สัญญาณก็จะเข้าประชิดตัวคู่ต่อสู้ทันที การตัดสินแพ้ชนะคือการทำให้คู่ต่อสู้ออกนอกโดเฮียว (土俵) ให้ได้ หากนักซูโม่ก้าวเท้าออกนอกวงกลมนี้เมื่อไหร่จะถือว่าแพ้ เช่น มือแตะพื้นหรือล้มลงพื้น ก็จะถือว่าแพ้เช่นกัน
จังโกะนาเบะ (ちゃんこ鍋)
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายน้ำหนักโดยการเพิ่มน้ำหนักขึ้นและเพื่อให้ได้รับพลังงานเพียงพอสำหรับการฝึกซ้อมประจำวัน นักซูโม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามการทานอาหารอย่างเคร่งครัด ผู้ชายปกติโดยเฉลี่ยต้องการพลังงานประมาณ 2,500 แคลอรีต่อวันแต่นักซูโม่ต้องได้พลังงานอย่างน้อย 4,000 แคลอรีต่อวัน พวกเขามักจะกินมื้อใหญ่ 2 มื้อต่อวันโดยไม่ทานอาหารเช้า อาหารจานหลักหรือมื้ออาหารสำหรับพวกเขาคือจังโกะนาเบะ วัตถุดิบที่ใส่ลงไปในหม้อไฟจะมีโปรตีนอาหารทะเลหรือเนื้อสัตว์ในอดีตจะถือว่าสัตว์ที่มี 4 ขาอย่างหมูและวัวนั้นไม่เป็นมงคล ซึ่งมักจะใช้ไก่เป็นส่วนใหญ่แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยถือแล้วปัจจุบันนี้จึงใช้เนื้อวัวและเนื้อหมูด้วย และผักใส่จำนวนมากลงไป
■ สรุป
ซูโม่ได้พัฒนาจากพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าทางการเกษตรกรจนกลายเป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่นในปัจจุบัน ผู้คนสนใจกีฬานี้มากขึ้นแม้กระทั่งชาวต่างชาติอย่าง Hakuho อดีตนักมวยปล้ำซูโม่ที่เก่งที่สุดในญี่ปุ่นชาวมองโกเลีย ตัดสินใจที่จะเข้ารับการฝึกการเป็นนักซูโม่ การเข้าชมซูโม่ไม่ว่าจะเป็นทางทีวีหรือชมการแข่งขันสดเป็นประสบการณ์ที่ดีที่คุณต้องลองสักครั้งในการทำความรู้จักกับซูโม่กีฬาที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น