หากไม่สบายที่ญี่ปุ่นต้องทำอย่างไร? แนะนำขั้นตอนเพื่อรับการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่น

อาการเจ็บป่วยเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เรา แต่หากว่าคุณเจ็บป่วยในต่างประเทศหล่ะ ในสถานการณ์ที่น่ากังวลอยู่แล้ว รู้สึกแย่เป็นพิเศษที่จะอยู่ในประเทศที่ไม่คุ้นเคยซึ่งระบบการรักษาพยาบาลแตกต่างจากประเทศของคุณมาก บทความนี้รวมทุกเรื่องที่คุณควรทราบหากไม่สบายที่ญี่ปุ่น แนะนำขั้นตอนเพื่อรับการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่น ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ในยามที่คุณต้องการ

สารบัญ

หากไม่สบายที่ญี่ปุ่นต้องทำอย่างไร

ระบบการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นอาจแตกต่างจากประเทศของคุณมาก ด้วยเหตุนี้การเตรียมตัวอ่านข้อมูลล่วงหน้าจึงมีความสำคัญมาก เนื่องจากคุณไม่มีทางรู้ว่าคุณหรือเพื่อนจะต้องการข้อมูลนี้เมื่อใด ในประเทศญี่ปุ่นมีสถาบันทางการแพทย์หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บและระยะเวลาในการรักษา สถาบันการแพทย์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ โรงพยาบาลหรือคลินิก การปฏิบัติทั่วไปในญี่ปุ่น คือการไปคลินิกก่อนเมื่อได้รับบาดเจ็บหรือป่วย ข้อยกเว้นคือเมื่อได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยรุนแรง ซึ่งในกรณีนี้ คุณควรเรียกรถพยาบาลโดยโทร 911 เมื่อมีการเรียกรถพยาบาล คุณจะไม่สามารถเลือกได้ว่าจะไปโรงพยาบาลใด เป็นหน้าที่ของแพทย์ในการประเมินอาการของผู้ป่วย ให้การรักษานอกสถานที่ (หากจำเป็น) และหาโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วย

คลินิกเฉพาะทาง

ไม่มีแพทย์และคลินิกสำหรับโรคทั่วไปในญี่ปุ่น แพทย์ทุกคนเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาการแพทย์และทำงานในคลินิกเฉพาะทาง มาดูประเภทของคลินิกเฉพาะทางในญี่ปุ่นที่คุณควรรู้กัน

ประเภทคลินิกเฉพาะทาง

การรักษาพยาบาล

「内科 naika」

โรคภายในและการรักษาด้วยยา

「外科 geka」

การผ่าตัด

「産婦人科 sanfujinka」

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา: สุขภาพสตรีและการตั้งครรภ์

「眼科 ganka」

ตา

「耳鼻咽喉科 jibiinkouka」

หู คอ จมูก

「小児科医 shounika」

กุมารเวชศาสตร์: ทารกและเด็ก

「泌尿器科 hinyoukika」

ระบบทางเดินปัสสาวะ: ทางเดินปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะ, ไต

「皮膚科 hifuka」

โรคผิวหนัง: ปัญหาผิวและโรคผิวหนังต่างๆ

「精神科 seishinka」

จิตเวชศาสตร์: ความผิดปกติทางจิตและความเครียด

จดหมายแนะนำโรงพยาบาล

ในบางกรณี เมื่อแพทย์ที่คลินิกอาจไม่สามารถให้การรักษาที่คุณต้องการ หรือบางทีพวกเขาอาจไม่สามารถวินิจฉัยการเจ็บป่วยของคุณได้ และจำเป็นต้องส่งไปโรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ขั้นสูง ในกรณีนี้ แพทย์ที่คลินิกจะเตรียมจดหมายแนะนำ「紹介状 shoukaijyou」เพื่อแนะนำให้คุณเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล การที่จะไปรักษาที่โรงพยาบาลโดยตรงก็ทำได้เช่นกัน แต่ถ้าไม่มีจดหมายแนะนำ「紹介状 shoukaijyou」 คุณจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับ 「選定療養費 sentei ryouyouhi」 นี่เป็นค่าธรรมเนียมพิเศษที่เรียกเก็บจากผู้ป่วยที่ไม่มีจดหมายแนะนำมาด้วย

ขั้นตอนพื้นฐานในการพบแพทย์ในญี่ปุ่น

ทำการนัดหมายเพื่อพบแพทย์

หลักการทั่วไปคือต้องทำการนัดหมายก่อน เนื่องจากคลินิกหลายแห่งใช้ระบบการนัดหมายเท่านั้น (予約制) เนื่องจากสถานการณ์โควิด หากเป็นกรณีเร่งด่วนหรือมีการจองเต็มแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ให้โทรไปที่คลินิกเพื่อดูว่าพวกเขายอมรับวอล์คอินหรือไม่ ผู้ป่วยที่มาครั้งแรกมักไม่ได้รับอนุญาตให้วอล์คอิน การให้คำปรึกษาสำหรับผู้ป่วยครั้งแรกมักจะใช้เวลานานกว่าปกติเนื่องจากแพทย์จำเป็นต้องถามคุณเกี่ยวกับภูมิหลังทางการแพทย์และประวัติของคุณ เพื่อไม่เสียเวลาอันมีค่าของคุณ จึงควรทำการนัดหมายล่วงหน้า ไม่ว่าในกรณีใด คุณควรตรวจสอบข้อมูลล่าสุดจากเว็บไซต์ของคลินิกเสมอ

สิ่งที่ต้องเตรียม

สิ่งที่ต้องเตรียมมาด้วยทุกครั้งที่ไปพบแพทย์:

บัตรประกันสุขภาพ (保険証 hokensho)

ด้วยบัตรประกันสุขภาพ คุณต้องจ่าย 30% ของค่ารักษาพยาบาลของคุณเอง คุณอาจไม่จำเป็นต้องแสดงบัตรประกันหากมาที่คลินิกเดียวกันภายในเดือนเดียวกัน แต่ทางที่ดีให้นำบัตรประกันสุขภาพไปด้วยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

บัตรลงทะเบียนผู้ป่วย (診察券 Shinsatsu-ken)

บัตรลงทะเบียนผู้ป่วยจะออกให้คุณเมื่อคุณลงทะเบียนที่คลินิก/โรงพยาบาลเป็นครั้งแรก

สมุดยา (薬手帳 kusuri techou)

สมุดเล่มเล็กสำหรับบันทึกยาที่คุณสั่ง ร้านขายยาจะแปะสติกเกอร์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับยาที่คุณได้รับในวันนั้นลงในเล่ม หากคุณลืมนำติดตัวไป ทางร้านจะให้สติ๊กเกอร์มาให้คุณไปติดเอง สมุดยายังเป็นประโยชน์หากคุณต้องการแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่

เงินสด

คลินิกส่วนใหญ่รับเฉพาะเงินสดเท่านั้น แต่บางคลินิกก็รับบัตรเครดิตหรือชำระผ่านคิวอาร์โค้ดได้ แต่ทางที่ดีให้พกเงินสดติดตัวไปด้วยจะปลอดภัยกว่า

ชำระเงิน

สำหรับผู้ถือประกันสุขภาพ คุณจะต้องจ่าย 30% ของค่ารักษาพยาบาล หากแพทย์สั่งยาให้คุณ คุณจะได้รับใบสั่งยา (処方箋 shohousen) เพื่อซื้อยาที่ร้านขายยา การหักค่ารักษาพยาบาล คุณสามารถรวบรวมใบเสร็จรับเงินสำหรับค่ารักษาพยาบาลรวมถึงค่ายา หากคุณจ่ายเงินมากกว่าจำนวนที่กำหนดต่อปี (กำหนดโดยรายได้ของคุณ) คุณสามารถขอหักค่ายา (医療費控除 Iryōhikōjo) เพื่อขอลดหย่อนภาษีได้ ตรวจสอบได้ที่นี่ หากจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นโดยผู้ถือประกันในเดือนเดียวกัน (วันแรกถึงวันสุดท้าย) สูงกว่าราคาเพดาน (ส่วนที่ชำระเอง) สามารถขอผลประโยชน์เรื่องค่ารักษาพยาบาลต้นทุนสูงได้ ภายใต้ระบบนี้ ส่วนเกินราคาเพดานจะได้รับเงินอุดหนุนแต่เฉพาะเดือนนั้นเมื่อผ่านเดือนนั้นไปทุกอย่างจะรีเซต สมาคมประกันสุขภาพแห่งประเทศญี่ปุ่น

ซื้อยาที่

ไปร้านขายยา (薬局 yakkyoku) เพื่อรับยา ใบสั่งยา (処方箋 shohousen) ของคุณสามารถใช้ได้ที่ร้านขายยาที่เกี่ยวข้องกับยาที่สั่งโดยแพทย์ ราคายังเป็น 30% ของราคาเต็มสำหรับผู้ถือประกัน

หากคุณมาที่ร้านขายยาเป็นครั้งแรก เช่นเดียวกับคลินิก คุณจะต้องกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน ตอบคำถามที่ถามจะรวมถึง ยาที่คุณกำลังทานยาอยู่ ประวัติการแพ้ยา พฤติกรรมการใช้ชีวิต ( สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) และอื่นๆ

หากไม่มีประกันสุขภาพต้องทำอย่างไร

แม้ว่าคุณจะไม่มีประกัน คุณยังสามารถรับการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นได้ไม่มีปัญหาแต่ต้องจ่ายค่ารักษาเต็มจำนวน เนื่องจากคุณไม่มีประกัน คุณไม่สามารถได้รับประโยชน์จากราคาผู้มีประกันที่จ่ายเพียง 30% ของราคาเต็ม ผู้ถือที่ไม่ใช่ประกันจะต้องชำระราคาเต็ม หากคุณมาญี่ปุนเพื่อการท่องเที่ยวจึงควรทำประกันการเดินทางมาด้วย นักท่องเที่ยวที่มาเยือนญี่ปุ่นหากคุณต้องเข้ารับการรักษาก็จะมีค่าใช้จ่ายมากรวมถึงค่ายาด้วย

หากคุณมีประกันแต่ลืมบัตรประกันสุขภาพ คุณสามารถแจ้งกับทางคลินิกได้โดยที่คุณจำเป็นต้องชำระค่ารักษาเต็มจำนวนก่อนและไปยื่นขอคืน70%ในภายหลังได้

การรักษาพยาบาลฉุกเฉิน (ช่วงกลางดึก, วันหยุด)

ในญี่ปุ่น คลินิกส่วนใหญ่มีเวลาเปิดทำการตั้งแต่ 9:00 น. ถึง 18:00 น.คลินิกบางแห่งเปิดทำการในวันเสาร์เป็นเวลาครึ่งวัน หรืออาจจะหยุดเสาร์อาทิตย์ (ตรวจสอบเว็บไซต์ของคลินิกแต่ละแห่งเพื่อดูข้อมูลที่ถูกต้อง) คุณจะต้องทำอย่างไรถ้าคุณต้องการการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในเวลานั้น?

โทร 911 เพื่อเรียกรถพยาบาล

หากสถานการณ์จำเป็น ให้โทรเรียกรถพยาบาลที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันไม่เว้นวันหยุด

หากภาษาญี่ปุ่นของคุณไม่เก่งพอที่จะอธิบายสถานการณ์ ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านชาวญี่ปุ่นโดยบอกพวกเขาว่า โปรดโทรเรียกรถพยาบาลให้ที「救急車を呼んでください。kyukyusha wo yonde kudasai」

คลินิกผู้ป่วยนอกฉุกเฉิน

ตรวจสอบเว็บไซต์ของ Medical Association และ Ward Office ในพื้นที่ของคุณเพื่อดูสิ่งอำนวยความสะดวกที่เปิดให้บริการนอกเวลาปกติ คำสำคัญในภาษาญี่ปุ่นคือ

「休日医療機関 kyuujitsu iryou kikan」 สถาบันทางการแพทย์ที่เปิดทำการในวันหยุด

「休日・夜間診療 kyuujitsu・yakan shinryou」รักษาพยาบาลในวันหยุดและกลางคืน

「急患診療 kyuukan shinryou」การรักษาพยาบาลฉุกเฉิน

รายชื่อสถานพยาบาลฉุกเฉิน (ตามพื้นที่)

Tokyo (ภาษาญี่ปุ่น)

Shinjuku City

Shibuya City

Nerima City

Yokohama City

Osaka

Osaka City

Kyoto City

Sapporo City

Fukuoka City

มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมเมื่อรับการรักษาพยาบาลนอกเวลาทำการ จำนวนค่าบริการจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเวลาใช้บริการนอกเวลาทำการ วันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ช่วงดึก (22:00~6:00 น.) คาดว่าค่ารักษาพยาบาลจะ 2-3 เท่าของการรักษาพยาบาลในชั่วโมงทำการปกติ

สรุป

หากคุณไม่สบายที่ญี่ปุ่นและได้ปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อรับการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นดังที่กล่าวมาข้างต้น การไปพบแพทย์ที่ญี่ปุ่นก็ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากังวลอีกต่อไป โดยสรุปขั้นตอนง่ายๆคือหากป่วยให้ไปพบแพทย์ที่คลินิกเฉพาะทางก่อน หากคลินิกไม่สามารถรักษาได้จะส่งจดหมายแนะนำไปโรงพยาบาลต่อไป หากสามารถตรวจรักษาเองได้เมื่อจบการตรวจแล้วสิ่งที่คุณต้องทำคือต้องนำใบสั่งยาไปซื้อยาที่ร้านขายยาเอง ที่คลินิกจะไม่มียาจำหน่ายเหมือนที่ไทย และที่สำคัญที่ญี่ปุ่นไม่ได้เปิดรักษาตลอด 24 ชั่วโมงเหมือนโรงพยาบาลที่ไทย และการไปพบแพทย์แต่ละครั้งยุ่งยากกว่ามาก ดังนี้หากมาที่ญี่ปุ่นสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องดูแลรักษาสุขภาพให้ดี

นักเขียน

WeXpats
นำเสนอบทความที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำงาน และการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น รวมไปจนถึงบทความแนะนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บทความพิเศษ 特集

บทความยอดนิยม 人気記事

โซเชียลมีเดีย ソーシャルメディア

นำเสนอข้อมูลล่าสุดในญี่ปุ่นใน 9 ภาษา!

  • English
  • 한국어
  • Tiếng Việt
  • မြန်မာဘာသာစကား
  • Bahasa Indonesia
  • 中文 (繁體)
  • Español
  • Português
  • ภาษาไทย
TOP/ การอาศัยในญี่ปุ่น/ การรักษาพยาบาล, สุขภาพ, ประกันภัย/ หากไม่สบายที่ญี่ปุ่นต้องทำอย่างไร? แนะนำขั้นตอนเพื่อรับการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่น

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของเว็บไซต์ของเรา โปรดคลิก "ยอมรับ" เพื่อยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราโปรดคลิกที่นี่

นโยบายการใช้คุกกี้