คำอนุภาคภาษาญี่ปุ่นระดับ N5 - เตรียมสอบ JLPT กัน!

คำอนุภาคมีความสำคัญในการสร้างประโยคที่เรียกว่า 助詞 (joshi) ในภาษาญี่ปุ่น คำอนุภาคจำเป็นสำหรับการอ่าน เขียน และการพูดภาษาญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น “わたしは〇〇です。(watashi wa 〇〇 desu) - ฉันคือ 〇〇” ในประโยคนี้ “は (wa)” คือคำอนุภาคที่ใช้วางระหว่างประธาน “わたし (watashi)” กับกรรม “〇〇” ในบทความนี้ เราได้รวบรวมรายการคำอนุภาคพื้นฐานทั่วไปที่คุณจำเป็นต้องรู้ในระดับ JLPT N5 และ 3 สิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับการใช้อนุภาคในระดับ N5

สารบัญ

คำอนุภาคภาษาญี่ปุ่นคืออะไร?

助詞 (Joushi) เป็นคำอนุภาคภาษาญี่ปุ่นที่สร้างการเชื่อมต่อระหว่างคำและสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้ความหมายของคำนั้นชัดเจนขึ้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคำอนุภาคในภาษาญี่ปุ่นระดับพื้นฐาน เมื่อรู้วิธีใช้คำอนุภาคภาษาญี่ปุ่นอย่างถูกต้องแล้ว คุณจะสามารถพูดและเขียนได้อย่างถูกต้อง ความหมายของประโยคอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับคำอนุภาคที่คุณใช้ ในบทความนี้ เราจะเสนอคำอนุภาคภาษาญี่ปุ่นที่คุณควรรู้และสามารถใช้ได้ในระดับพื้นฐาน

คำอนุภาคใน JLPT ระดับ N5 

นี่เป็นตารางสรุปคำอนุภาคของญี่ปุ่นที่มักพบในระดับ N5 คำเดียวกันอาจมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราขอแนะนำให้จดจำประโยคตัวอย่างพร้อมกับการใช้งาน การใช้อนุภาคบางอย่างอาจดูคล้ายกันมากเช่นกัน ดังนั้นอย่าสับสน

ภาษาญี่ปุ่น 3 คำต่อไปนี้ จะมีวิธีการอ่านเปลี่ยนไปเมื่อใช้เป็นคำอนุภาค:

は (ha) → อ่านออกเสียงว่า wa

を (wo) → อ่านออกเสียงว่า o

へ (he) → อ่านออกเสียงว่า e

คำอนุภาค

วิธีใช้

ประโยคตัวอย่าง

คือ

わたしはタイ人です。

wa

(สรรพนามรูปประธาน)

(watashi wa taijin desu)

 

 

- ฉันคือคนไทย

(การเปรียบเทียบ)

やさいは食べますが、にくは食べません。

wa 

(yasai wa tabemasuga, niku wa tabemasen)

 

- ฉันกินผักแต่ฉันไม่กินเนื้อ

อะไร

名前は何ですか?

ka

(คำถาม)

(namae wa nandesuka?)

 

 

- คุณชื่ออะไร? 

เช่นเดียวกัน

わたしも友だちも学生です。

mo

(การเน้นคำ)

(watashi mo tomodachi mo gakusei desu)

 

 

- ฉันและเพื่อนเป็นนักเรียนเช่นเดียวกัน

(สิ่งของ)

ごはんをたべます。

o

(gohan o tabemasu)

 

- กินข้าว

(เริ่มต้น)

いえを出ます。

o

(ie o demasu)

 

- ออกจากบ้าน

 

はしをわたります。

o

(ข้าม)

(hashi o watarimasu)

 

 

- ข้ามสะพาน

ไป

学校へ行きます。

e

(ทิศทาง / จุดหมาย)

(gakkou e ikimasu)

 

 

-ไปโรงเรียน

ไป

学校に行きます。

ni

(ทิศทาง / จุดหมาย)

(gakkou ni ikimasu)

 

 

-ไปโรงเรียน

(เป้าหมาย)

先生に聞きます。

ni

(sensei ni kikimasu)

 

- ถามคุณครู

ตอน

7時に起きます。

ni

(เวลา)

(shichi-ji ni okimasu)

 

 

- ตื่นตอน 7 โมง

ไปเพื่อ

はなをかいに行きます

ni

(จุดประสงค์)

(hana o kai ni ikimasu)

 

 

- ไปเพื่อซื้อดอกไม้

อยู่บน / ที่

つくえの上に本があります。

ni

(บอกที่อยู่)

(tsukue no ue ni hon ga arimasu)

 

 

- มีหนังสืออยู่บนโต๊ะ

โดย

電車で学校へ行きます。

de

(วิธีการ)

(densha de gakkou e ikimasu)

 

 

- ไปโรงเรียนโดยรถไฟ

ที่ / ใน

しょくどうでひるごはんを食べます。

de

(สถานที่)

(shokudou de hirugohan o tabemasu)

 

 

- กินข้าวกลางวันที่โรงอาหาร

และ

つくえの上に本とえんぴつがあります。

to

(สิ่งของ)

(tsukue no ue ni hon to enpitsu ga arimasu)

 

 

- มีสมุดและดินสออยู่บนโต๊ะ

และ / กับ

友だちとえいがを見に行きます。

to

(ไปด้วยกัน)

(tomodachi to eiga o mi ni ikimasu)

 

 

- ฉันจะไปดูหนังกับเพื่อน

〇〇, 〇〇, และ

つくえの上に本やえんぴつなどがあります。

ya

(สิ่งของ) 

(tsukue no ue ni hon ya enpitsu nado ga arimasu)

 

 

 - มีสมุดและปากกาอื่นๆ บนโต๊ะ

ของ

わたしはWeXpatsのしゃいんです。

no

(สังกัด)

(watashi wa WeXpats no shain desu)

 

 

- ฉันเป็นพนักงานประจำของ WeXpats

(การครอบครอง)

これはわたしの本です。

no

(kore wa watashi no hon desu)

 

- นี่คือหนังสือของฉัน.

(ที่มา)

これはアメリカの車です。

no

(kore wa amerika no kuruma desu)

 

- นี่คือรถที่มาจากอเมริกา

(สรรพนามรูปประธาน)

だれがきましたか?

ga

(dare ga kimashitaka)

 

- ใครมาแล้วบ้าง?

แต่, อย่างไรก็ตาม

日本語はむずかしいですが、おもしろいです。

ga

(คำเชื่อมที่ขัดแย้งกัน)

(nihongo wa muzukashii desuga, omoshiroi desu)

 

 

- ภาษาญี่ปุ่นยากแต่น่าสนใจ

から

ดังนั้น, เพราะว่า

今日は友だちのたんじょうびですから、早くかえります。

kara

(เหตุผล)

(kyou wa tomodachi no tanjoubi desukara, hayaku kaerimasu)

 

 

- วันนี้เป็นวันเกิดของเพื่อนฉันดังนั้นฉันเลยกลับบ้านเร็ว

から~まで

จาก ~ ถึง

7時から8時までべんきょうします。

kara~made

(จุดเริ่มต้น ~ จุดสิ้นสุด)

(shichi-ji kara hachi-ji made benkyoushimasu)

 

 

- ฉันเริ่มเรียนจาก7 โมงถึง 8 โมง

より

กว่า

とうきょうはおおさかより大きいです。

yori

(การเปรียบเทียบ)

(toukyou wa oosaka yori ookii desu)

 

 

- โตเกียวใหญ่กว่าโอซาก้า

だけ

เท่านั้น

一時間だけべんきょうしました。

dake

(ichi jikan dake benkyoushimashita)

 

- ฉันเรียนแค่ชั่วโมงเดียวเท่านั้น

(แบ่งปันข้อมูล)

このレストランはおいしいですよ。

yo

(kono resutoran wa oishii desuyo)

 

- อาหารร้านนี้อร่อยมากเลยนะ

ใช่มั้ย (ความเห็นด้วย)

このレストランはおいしいですね。

ne

(kono resutoran wa oishii desune)

 

- อาหารร้านนี้อร่อยใช่มั้ยล่ะ

ใช่มั้ย / ฉันเชื่อว่า

これは山田さんのかばんですね。

ne

(การยืนยัน)

(kore wa yamada-san no kaban desune)

 

 

- นี่คือกระเป๋าของยามาดะซังใช่มั้ย?

วิธีเรียนรู้คำอนุภาคระดับ N5 อย่างง่าย

คำอนุภาคระดับ N5

คำอนุภาคระดับ N5

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณรู้วิธีใช้คำอนุภาคอย่างถูกต้อง

ดังที่คุณเห็นในรายการคำอนุภาค N5 ด้านบน มีหลายวิธีในการใช้คำอนุภาค ดังนั้น การจำวิธีใช้แต่ละคำจึงมีประสิทธิภาพมากกว่าการแปลและจำความหมายของคำอนุภาค

ตัวอย่างเช่น คำอนุภาค の (no) 

の - แสดงความเป็นเจ้าของ

これはわたしのカバンです。

(kore wa watashi no kaban desu)

- นี่คือกระเป๋าของฉัน

の - เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

わたしは〇〇大学の学生です。

(watashi wa 〇〇 daigaku no gakusei desu)

- ฉันเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย 〇〇

の - ที่มาของสิ่งนั้น

これは日本のくるまです。

(kore wa nihon no kuruma desu)

- นี่คือรถของญี่ปุ่น

これはアメリカのけいたいです。

(kore wa amerika no keitai desu)

- นี่คือโทรศัพท์มือถือของอเมริกา

อย่างที่คุณเห็น แม้ว่าทั้ง 3 ตัวอย่างจะใช้คำอนุภาค の แต่ก็ไม่ได้ใช้เพื่อแสดงความครอบครองทั้งหมด วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการเรียนรู้วิธีใช้แต่ละคำอนุภาคมากกว่าความหมาย

คำอนุภาคที่ใช้กับคำกริยา

เมื่อศึกษาคำอนุภาคบางชนิด การจดจำคำอนุภาคเหล่านั้นพร้อมกับคำอนุภาคอื่นที่คล้ายคลึงกันจะง่ายกว่า ตัวอย่างเช่น で (de) และ に (ni) ซึ่งเป็นอนุภาคที่แสดงตำแหน่ง หากคุณจำแค่ว่าทั้ง で และ に เป็นคำอนุภาคแทนสถานที่ และใช้กับทุกสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ คุณจะสับสนระหว่างทั้งสองคำนี้ 

แล้วคุณแยกความแตกต่างระหว่าง で กับ に ได้อย่างไร? วิธีที่ดีที่สุดคือการจำประโยคตัวอย่างสำหรับแต่ละคำเพื่อจับรูปแบบการใช้ ในระดับ N5 จำนวนคำกริยาที่ต้องเรียนรู้ยังมีน้อย ดังนั้นนี่จึงเป็นจุดที่ง่ายในการท่องจำ

มาดูตัวอย่างวิธีใช้ で และ に กัน

  • しょくどうでご飯を食べます。

 (shokudou de gohan wo tabemasu)

 - กินข้าวที่โรงอาหาร

  • しょくどうに先生がいます。

 (shokudou ni sensei ga imasu)

 - อาจารย์อยู่ที่โรงอาหาร

หน้า で หรือ に เป็นคำนามสถานที่ - คำนามสถานที่ + で / に 

แล้วで และ に ต่างกันตรงไหน? หลัง に เป็นคำกริยาที่แสดงการมีอยู่ - いる (iru) ในขณะที่ で ตามด้วยกริยาการกระทำ - 食べる (taberu)

เพื่อให้เข้าใจง่าย:

  • สถานที่ + で + กริยาการกระทำ

  • สถานที่ / เป้าหมาย + に + คำกริยาที่แสดงการมีอยู่ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ทิศทาง

คำกริยาที่มักใช้กับ に

ด้านล่างนี้เป็นคำกริยาที่ใช้บ่อยกับ に

  • 頼む / たのむ / tanomu : ร้องขอ
  • 教える / おしえる / oshieru : สอน
  • 話す / はなす / hanasu : พูด
  • 貸す / かす / kasu : ให้ยืม
  • 返す / かえす / kaesu :คืน
  • 渡す / わたす / watasu : ยื่นให้ 
  • 見せる / みせる / miseru : ให้ดู
  • 電話をかける / でんわをかける / denwa wo kakeru : โทรหา 
  • 会う / あう / au : นัดเจอ 
  • 聞く / きく / kiku : ถาม

ตัวอย่างเช่น “先生にさんまます。 (sensei ni kikimasu) - ถามอาจารย์” อาจารย์ (คำนาม) คือ "เป้าหมาย" ที่จะถาม (กริยา) ระบุด้วยに

สำหรับคำนามแสดงปลายทางของสถานที่ に สามารถใช้แสดงจุดประสงค์ได้

  • 行く / iku / iku : ไป
  • 来る / くる / kuru : มา
  • 帰る / かえる / kaeru : กลับ

ตัวอย่างเช่น "ごはんを食べに行きます。(gohan o tabe ni ikimasu) - ฉันจะไปเพื่อกินข้าว" ไปเพื่อทำอะไรบางอย่าง มักใช้ に แสดงจุดประสงค์

ดังที่คุณเห็นจากตัวอย่างเหล่านี้ การเรียนรู้วิธีใช้มากกว่าความหมายของอนุภาคเป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

สิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับการใช้คำอนุภาคระดับ N5

ต่อไปนี้เป็นบางสิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับการใช้คำอนุภาค N5 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง に

เวลา + に

การใช้งานทั่วไปอีกอย่างหนึ่งของ に จะนำหน้าด้วยการแสดงเวลา อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าจะใช้กับเวลาทั้งหมดได้ สามารถใช้ に ได้เฉพาะเวลาที่เจาะจง แต่หากไม่เจาะจงเวลาที่ชัดเจนจะไม่สามารถใช้ได้

ตัวอย่างเช่น ต่อไปนี้เป็นการแสดงเวลาที่เจาะจงซึ่งใช้นำหน้า に ได้

  • 8時に起きます。

 (hachi-ji ni okimasu)

 - ตื่นตอน 8 โมง

  • 月曜日に学校へ行きます。

 (getsuyoubi ni gakkou e ikimasu)

 - ไปโรงเรียนตอนวันจันทร์

เปรียบเทียบกับสิ่งต่อไปนี้ โดยที่ に ไม่ได้อยู่หลังเวลาที่ไม่เจาะจง

  • 来週旅行に行きます。

 (raishuu ryokou ni ikimasu)

 - ฉันจะไปเที่ยวในสัปดาห์หน้า

  • 毎日勉強します。

 (mainichi benkyoushimasu)

 - ฉันเรียนทุกวัน

  • 一時間勉強します。

 (ichi jikan benkyou shimasu)

 - ฉันเรียนหนึ่งชั่วโมง

来週、先週、来月、先月、今日、昨日、明日、おととい、是日、毎週、毎月 เป็นการแสดงเวลาที่ไม่ได้เจาะจง 〇〇時間、〇〇日、〇〇週、〇〇月 เป็นคำที่อ้างถึงช่วงเวลา ดังนั้นจึงใช้กับ に ไม่ได้

にあう หรือ とあう

คำอนุภาคระดับ N5

"に会う (にあう / ni au) หรือ と会う (とあう / to au) ข้อใดถูกต้อง" เป็นคำถามที่พบบ่อยโดยผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น

คำตอบคือถูกต้องทั้งคู่แต่มีความหมายต่างกัน

にあう แปลว่า ฝ่ายหนึ่งจะไปเจอกับอีกฝ่ายหนึ่ง とあう แปลว่า ทั้งสองฝ่ายมุ่งหน้ามาเจอกัน

  • わたしは友だちとあいます。

 (watashi wa tomodachi to aimasu)

 - ฉันจะไปพบเพื่อน [ทั้งคู่กำลังจะไปที่ไหนสักแห่งเพื่อนัดพบกัน]

  • わたしは友だちにあいます。

 (watashi wa tomodachi ni aimasu)

 - ฉันจะไปหาเพื่อน [ฉันไปคนเดียว]

นักเขียน

WeXpats
นำเสนอบทความที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำงาน และการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น รวมไปจนถึงบทความแนะนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บทความที่เกี่ยวข้อง 関連記事

บทความพิเศษ 特集

บทความยอดนิยม 人気記事

โซเชียลมีเดีย ソーシャルメディア

นำเสนอข้อมูลล่าสุดในญี่ปุ่นใน 9 ภาษา!

  • English
  • 한국어
  • Tiếng Việt
  • မြန်မာဘာသာစကား
  • Bahasa Indonesia
  • 中文 (繁體)
  • Español
  • Português
  • ภาษาไทย
TOP/ การเรียนภาษาญี่ปุ่น/ JLPT/ คำอนุภาคภาษาญี่ปุ่นระดับ N5 - เตรียมสอบ JLPT กัน!

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของเว็บไซต์ของเรา โปรดคลิก "ยอมรับ" เพื่อยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราโปรดคลิกที่นี่

นโยบายการใช้คุกกี้