คำกริยาภาษาญี่ปุ่นระดับ N5 - เตรียมสอบ JLPT กัน!

คุณรู้หรือไม่ว่าคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท และคุณต้องเรียนรู้วิธีผันคำกริยาแต่ละกลุ่มด้วย นี่คือ 124 คำกริยาที่คุณควรรู้เพื่อเตรียมตัวสอบ JLPT N5!

สารบัญ

1. คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นมีอะไรบ้าง?

2. คำกริยากลุ่ม "る" 

3. คำกริยากลุ่ม "う" 

4. คำกริยากลุ่ม "する" 

คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นมีอะไรบ้าง?

คำกริยาคือคำที่ใช้อธิบายการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการเรียนรู้คำกริยาภาษาญี่ปุ่นคือการผันคำกริยา ซึ่งจะเปลี่ยนความหมายของคำกริยา ตั้งแต่การใช้งานทั่วไปถึงระดับสุภาพ และรูปแบบต่างๆ ในอดีต, ปัจจุบัน และ เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้ คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มซึ่งเป็นไปตามกฎการผันคำกริยาที่แตกต่างกัน:

  1. คำกริยากลุ่ม "る" (る動詞 ru-doushi) - คำกริยาที่ลงท้ายด้วย る (ru)

  2. คำกริยากลุ่ม "う" (う動詞 u-doushi) - คำกริยาที่ลงท้ายด้วย う (u)

  3. คำกริยากลุ่ม "する" (する動詞 suru-doushi) - คำนามที่กลายมาเป็นคำกริยาเมื่อเติมคำลงท้ายด้วย する (suru) 

ขึ้นอยู่กับหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นของคุณ กลุ่มเหล่านี้อาจรู้จักในชื่ออื่น ตัวอย่างเช่น คำกริยากลุ่ม "る" อาจเรียกว่า 一段動詞 (ichidan-doushi) และคำกริยากลุ่ม "う" อาจเรียกว่า 五段動詞 (godan-doushi)

คำกริยากลุ่ม "る" 

คำกริยา ภาษาญี่ปุ่น N5

คำกริยากลุ่ม "る" (る動詞 ru-doushi) เป็นคำกริยาที่ลงท้ายด้วย る (ru) ตัวอย่างเช่น わたしはパンを食べる (watashi wa pan wo taberu) แปลว่า ฉันรับประทานขนมปัง

การผันคำกริยากลุ่ม "る" นั้นง่ายมากแค่เพียงเปลี่ยนคำว่า る (ru) ด้านท้ายเป็น ます (masu) ในรูปแบบสุภาพ และในรูปแบบอื่นๆ

ตารางด้านล่างเป็นวิธีเกี่ยวกับการผันคำกริยากลุ่ม "る"

คำกริยา ภาษาญี่ปุ่น N5

ตัวอย่าง わたしはパンを食べる (watashi wa pan o taberu) จะสามารถผันได้ดังนี้:

  • わたしはパンを食べた (~ tabeta) - ฉันรับประทานขนมปังแล้ว

  • わたしはパンを食べない (~tabenai) - ฉันไม่รับประทานขนมปัง

  • わたしはパンを食べなかった (~tabenakkata) - ฉันไม่ได้รับประทานขนมปัง

  • わたしはパンを食べている (~tabeteiru) -ฉันกำลังรับประทานขนมปัง

คำกริยากลุ่ม "る" น่ารู้ JLPT ระดับ N5

นี่คือรายการคำกริยากลุ่ม "る" จำนวน 31 คำที่มักจะปรากฏในข้อสอบ JLPT ระดับ N5 

หมายเหตุ: ตัวอักษรคันจิที่คุณจำเป็นต้องรู้ในระดับ N5 เป็นตัวอักษรแบบหนา

คำกริยา

คันจิ ความหมาย
あびる 浴びる อาบน้ำ
abiru
あげる 上げる เพิ่มขึ้น; เพื่อยกระดับ
ageru
あける 開ける เปิด (ประตู ของขวัญ หีบห่อ ฯลฯ); เพื่อปลดล็อก
akeru
でかける 出かける ออกไปข้างนอก; ออกเดินทาง
dekakeru
できる 出来る ได้รับอนุญาต; สามารถทำได้
dekiru
でる 出る ออกไปข้างนอก; ออกเดินทาง
deru
はれる 晴れる แดดออก
hareru
いれる 入れる ใส่เข้าไป
ireru
いる 居る เป็น; อยู่; ที่จะ ...
iru
かける 掛ける แขวน, โทรออก; สวมใส่ (แว่นตา สร้อยคอ ฯลฯ)
kakeru
かりる 借りる ยืม
kariru
きえる 消える หายไป
kieru
きる 着る สวมใส่
kiru
こたえる 答える ตอบ
kotaeru
みる 見る มอง,ดู
miru
みせる 見せる แสดงให้ดู
miseru
ならべる 並べる เข้าแถว
naraberu
ねる 寝る นอนหลับ
neru
おぼえる 覚える จดจำ
oboeru
おきる 起きる ตื่นนอน
okiru
おりる 降りる ลง(รถไฟ รถบัส ฯลฯ)
oriru
おしえる 教える สอน; บอก; เพื่อแจ้งให้ทราบ
oshieru
しめる 締める ผูก; เพื่อยึด; เพื่อกระชับ
shimeru
しめる 閉める ปิด
shimeru
たべる 食べる รับประทาน
taberu
つかれる 疲れる เหนื่อย
tsukareru
つける 付ける เข้าร่วม; เชื่อมต่อ;ติด
tsukeru
つける   เปิด (ไฟ สวิตช์ ฯลฯ)
tsukeru
つとめる 勤める ทำงานเพื่อ, ทำงานที่
tsutomeru
うまれる 生まれる เกิด
umareru
わすれる 忘れる ลืม
wasureru

คำกริยากลุ่ม "う" 

คำกริยา ภาษาญี่ปุ่น N5

คำกริยากลุ่ม "う" (う動詞 u-doushi) เป็นคำกริยาที่ลงท้ายด้วย う (u) เป็นกลุ่มคำกริยาที่ซับซ้อนที่สุดในการผัน เนื่องจากคำกริยากลุ่ม "う" มีกฎมากมายที่ต้องปฏิบัติตาม อีกส่วนที่ยากเกี่ยวกับคำกริยากลุ่ม "う" คือความสับสนกับกริยากลุ่ม "る" 

โดยทั่วไป กริยาที่ลงท้ายด้วย "る" (ru) คือกริยากลุ่ม "る" แต่ก็จะมีข้อยกเว้นที่จะจัดเป็นคำกริยากลุ่ม "う" ซึ่งยากมากในการระบุว่าเป็นคำกริยาประเภทใดกันแน่ ที่ทำได้คือต้องพยายามจดจำคำเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด

ตัวอย่างเช่น 着る (kiru) แปลว่า สวมใส่ เป็นกริยากลุ่ม "る" แต่ 切る (kiru) แปลว่าตัด เป็นคำกริยากลุ่ม "う" 

เมื่อผันเป็นรูปสุภาพ 着る (kiru) จะกลายเป็น 着ます (kimasu) ตามกฎการผันกริยากลุ่ม "る" แต่ 切る (kiru) ผันเป็น 切ります (kirimasu) ตามกฎของการผันคำกริยากลุ่ม "う"

การผันคำกริยากลุ่ม "う" เพื่อแสดงคำปฏิเสธรูปแบบปัจจุบัน (ない nai) และรูปอดีต (なかった nakatta) นั้นง่ายพอสมควรเพราะใช้กฎเดียวกัน

ตารางด้านล่างเป็นวิธีเกี่ยวกับการผันคำกริยากลุ่ม "う" รูปแบบปัจจุบัน, คำปฏิเสธรูปแบบปัจจุบันและคำปฏิเสธรูปแบบอดีต

คำกริยา ภาษาญี่ปุ่น N5

คำกริยากลุ่ม "う" จะออกเป็น 3 กลุ่มตามการลงท้ายสำหรับรูปแบบอดีต (た ta) และรูปแบบที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน (て te) ดังนี้:

  1. กลุ่มที่ 1 : う (u), つ (tsu), る (ru)

  2. กลุ่มที่ 2 : く(ku), ぐ (gu), す (su)

  3. กลุ่มที่ 3 : む (mu), ぶ (bu), ぬ (nu)

ตารางด้านล่างเป็นวิธีเกี่ยวกับการผันคำกริยากลุ่ม "う" เป็นรูปอดีต

คำกริยา ภาษาญี่ปุ่น N5

เมื่อสามารถผันคำกริยากลุ่ม "う" เป็นรูปแบบอดีตได้แล้ว การที่จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันก็ง่ายมาก เพียงแค่เปลี่ยนคำลงท้าย た (ta) เป็น て (te) หรือ だ (da) เป็น で (de) เท่านั้นเอง

ตารางด้านล่างเป็นวิธีเกี่ยวกับการผันคำกริยากลุ่ม "う" เป็นรูปแบบกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

คำกริยา ภาษาญี่ปุ่น N5

คำกริยากลุ่ม "う" เมื่อผันเป็นรูปแบบกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันแล้วประโยคจะไม่สมบูรณ์ เช่น 飲んで (nonde) จะต้องทำให้สมบูรณ์ด้วยการเติม いる (iru) เป็น 飲んでいる (nondeiru), หรือเติม います (imasu) เป็น 飲んでいます (nondeimasu) สำหรับรูปแบบสุภาพที่แปลว่ากำลังดื่ม

ตัวอย่างอื่น เช่นการเติมคำลงท้ายว่า ください (kudasai) เป็น 飲んでください (nondekusai) จะสุภาพขึ้นหมายความว่า “กรุณาดื่ม” 

คำกริยากลุ่ม "う" น่ารู้ JLPT ระดับ N5

นี่คือรายการคำกริยากลุ่ม "う" จำนวน 76 คำที่มักจะปรากฏในข้อสอบ JLPT ระดับ N5 

หมายเหตุ: ตัวอักษรคันจิที่คุณจำเป็นต้องรู้ในระดับ N5 เป็นตัวอักษรแบบหนา

คำกริยา

คันจิ

ความหมาย

あく

aku

開く

เปิด (ประตู ฯลฯ)

あらう

arau

洗う

ล้าง

ある

aru

 

มีอยู่

あそぶ

asobu

遊ぶ

เล่น

あう

au

会う

พบเจอ

ちがう

chigau

違う

แตกต่าง; ผิดแปลก

だす

dasu

出す

นำออก; ออกไป; เปิดเผย

ふく

fuku

吹く

เป่า (ลม)

ふる

furu

降る

ตก (ฝน หิมะ ฯลฯ)

はいる

hairu

入る

เข้า; เข้าร่วม

はじまる

hajimaru

始まる

เริ่ม

はく

haku

履く

ใส่ (กางเกง รองเท้า กระโปรง ฯลฯ)

はなす

hanasu

話す

พูด; พูดคุย

はる

haru

貼る

ติด; วาง

はしる

hashiru

走る

วิ่ง

はたらく

hataraku

働く

ทำงาน

ひく

hiku

引く

ดึง

ひく

hiku

弾く

เล่น (กีตาร์ เปียโน ฯลฯ)

いく

iku

行く

ไป; ย้าย

いる

iru

要る

ต้องการ

いう

iu

言う

พูด, เรียกว่า

かえる

kaeru

帰る

กลับ (บ้าน ฯลฯ)

かえす

kaesu

返す

คืน (สิ่งของ)

かかる

kakaru

掛かる

ใช้ (เวลาหรือเงิน)

かく

kaku

書く

เขียน

かす

kasu

貸す

ยืม

かう

kau

買う

ซื้อ

けす

kesu

消す

ลบ, ปิด (ไฟ)

きく

kiku

聞く

ได้ยิน; ฟัง; ถาม

きる

kiru

切る

ตัด

こまる

komaru

困る

ลำบาก; มีปัญหา

くもる

kumoru

曇る

เมฆมาก; ครึ้ม; สลัว

まがる

magaru

曲がる

งอ; โค้ง; เลี้ยว

まつ

matsu

待つ

รอ

みがく

migaku

磨く

ขัด; ส่องแสง; แปรงฟัน

もつ

motsu

持つ

ถือ;ดำเนินการ; มี; การเป็นเจ้าของ

もっていく

motte iku

持って行く

นำ (บางสิ่ง) ไปด้วย

なく

naku

鳴く

เสียงร้อง (โดยสัตว์)

なくす

nakusu

無くす

ทำของหาย

ならぶ

narabu

並ぶ

ต่อแถว

ならう

narau

習う

เรียนรู้ (จากครู)

なる

naru

成る

กลายเป็น; เปลี่ยนเป็น

のぼる

noboru

登る

ปีน

のむ

nomu

飲む

ดื่ม

のる

noru

乗る

ขึ้น (รถไฟ เครื่องบิน รถบัส เรือ ฯลฯ)

ぬぐ

nugu

脱ぐ

ถอดออก

おく

oku

置く

วางไว้

おす

osu

押す

ผลัก, กด​

おわる

owaru

終わる

เสร็จสิ้น

およぐ

oyogu

泳ぐ

ว่ายน้ำ

さく

saku

咲く

บาน (ดอกไม้)

さす

sasu

差す

ยื่นมือ;ยก(ร่ม ฯลฯ )

しまる

shimaru

閉まる

ปิด

しぬ

shinu

死ぬ

ตาย

しる

shiru

知る

รู้; ค้นหา

すむ

sumu

住む

อาศัยอยู่

すう

suu

吸う

สูบบุหรี่; ดูด

すわる

suwaru

座る

นั่ง

たのむ

tanomu

頼む

ร้องขอ

たつ

tatsu

立つ

ยืน

とぶ

tobu

飛ぶ

บิน; ข้ามไป

とまる

tomaru

止まる

หยุด

とる

toru

撮る

ถ่าย (รูปถ่าย); บันทึก (เสียง วิดีโอ)

とる

toru

取る

รับ; คว้า; จับ;ได้รับ

つかう

tsukau

使う

ใช้

つく

tsuku

着く

มาถึง, ไปถึง

つくる

tsukuru

作る

สร้าง

うる

uru

売る

ขาย

うたう

utau

歌う

ร้องเพลง

わかる

wakaru

分かる

เข้าใจ

わたる

wataru

渡る

ข้าม (สะพาน ฯลฯ )

わたす

watasu

渡す

ส่งมอบ

やる

yaru

 

ทำ

やすむ

yasumu

休む

หยุดพัก; วันหยุด

よぶ

yobu

呼ぶ

เรียก; โทรออก; เชิญ

よむ

yomu

読む

อ่าน

คำกริยากลุ่ม "する"

คำกริยา ภาษาญี่ปุ่น N5

คำกริยากลุ่ม "する" หรือする動詞 (suru-doushi) ในภาษาญี่ปุ่น เป็นคำนามที่กลายมาเป็นคำกริยาเมื่อเติมคำลงท้ายด้วย する (suru) ซึ่งตัวของ する (suru) เองเป็นคำแสดงกิริยาที่หมายถึงการกระทำ และเมื่อนำไปวางหลังคำนามจะทำให้คำนั้นเป็นคำกริยา เช่นคำว่า 電話 (denwa) แปลว่าโทรศัพท์ แต่เมื่อเติมคำลงท้ายด้วย する เป็น 電話する (denwasuru) หมายถึง การคุยโทรศัพท์. 

ตารางด้านล่างเป็นวิธีเกี่ยวกับการผันคำกริยากลุ่ม "する" ง่ายๆ

 คำกริยา ภาษาญี่ปุ่น N5

แต่จะมีคำกริยาพิเศษที่ต้องจำคือ 来る (kuru) แปลว่า มา ที่มีการผันเป็นกรณีพิเศษ ดังตารางด้านล่างเป็นวิธีเกี่ยวกับการผันคำกริยา 来る 

คำกริยาพิเศษ

และคำว่า 行く(iku) แปลว่า ไป เป็นคำกริยากลุ่ม "う" ที่เป็นไปตามกฎการผันคำกริยากลุ่ม "う" แต่จะมีการผันแบบพิเศษเมื่ออยู่ในรูปแบบอดีตและรูปแบบที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ตามตารางด้านล่าง

คำกริยาพิเศษ

คำกริยากลุ่ม "する" น่ารู้ JLPT ระดับ N5

นี่คือรายการคำกริยากลุ่ม "する" จำนวน 16 คำที่มักจะปรากฏในข้อสอบ JLPT ระดับ N5 

หมายเหตุ: ตัวอักษรคันจิที่คุณจำเป็นต้องรู้ในระดับ N5 เป็นตัวอักษรแบบหนา

คำกริยา

คันจิ

ความหมาย

べんきょう

benkyou

勉強

เรียน

でんわ

denwa

電話

คุยโทรศัพท์

じゅぎょう

jugyou

授業

สอนในชั้นเรียน

かいもの

kaimono

買い物

ซื้อของ

けっこん

kekkon

結婚

แต่งงาน

コピー

kopii

 

ทำสำเนา

れんしゅう

renshuu

練習

ฝึกซ้อม

りょこう

ryokou

旅行

ท่องเที่ยว

りょうり

ryouri

料理

ทำอาหาร

さんぽ

sanpo

散歩

เดินเล่น

せんたく

sentaku

洗濯

ซักผ้า

しごと

shigoto

仕事

ทำงาน

しつもん

shitsumon

質問

ถามคำถาม

そうじ

souji

掃除

ทำความสะอาด

テスト

tesuto

 

สอบ,ทดสอบ,ตรวจสอบ

くる

kuru

来る

มา 

※来る(kuru)เป็นคำกริยาที่มีวิธีการผันเป็นกรณีพิเศษ

นักเขียน

WeXpats
นำเสนอบทความที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำงาน และการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น รวมไปจนถึงบทความแนะนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บทความที่เกี่ยวข้อง 関連記事

บทความพิเศษ 特集

บทความยอดนิยม 人気記事

โซเชียลมีเดีย ソーシャルメディア

นำเสนอข้อมูลล่าสุดในญี่ปุ่นใน 9 ภาษา!

  • English
  • 한국어
  • Tiếng Việt
  • မြန်မာဘာသာစကား
  • Bahasa Indonesia
  • 中文 (繁體)
  • Español
  • Português
  • ภาษาไทย
TOP/ การเรียนภาษาญี่ปุ่น/ JLPT/ คำกริยาภาษาญี่ปุ่นระดับ N5 - เตรียมสอบ JLPT กัน!

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของเว็บไซต์ของเรา โปรดคลิก "ยอมรับ" เพื่อยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราโปรดคลิกที่นี่

นโยบายการใช้คุกกี้