เอมะ (絵馬) แผ่นป้ายขอพรตามศาลเจ้าญี่ปุ่น

เวลาไปที่ศาลเจ้าญี่ปุ่น นอกจากจะมีการเสี่ยงเซียมซีแบบญี่ปุ่น (おみくじ) แล้ว เราก็มักจะพบเห็น แผ่นป้ายไม้ขอพรมากมายเรียงรายในศาลเจ้า และหลายคนก็คงสงสัยว่าแผ่นป้ายไม้นั่นคืออะไร? แผ่นป้ายไม้ขอพรเหล่านั้นเรียกว่าเอมะ (絵馬) เป็นแผ่นป้ายไม้ขนาดเท่าฝ่ามือ มีไว้สำหรับเขียนคำอธิษฐานขอพรให้สมหวังหรือเขียนขอบคุณหลังคำอธิษฐานสมหวังแล้ว และในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับเอมะ (絵馬) แผ่นป้ายไม้ขอพรกัน!

สารบัญ

เอมะ (絵馬) คืออะไร?

เอมะ (絵馬) คือแผ่นป้ายไม้ขนาดเท่าฝ่ามือ มีไว้สำหรับเขียนคำอธิษฐานขอพรให้สมหวังหรือเขียนขอบคุณหลังคำอธิษฐานสมหวังแล้ว เป็นเครื่องรางอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในศาลเจ้าชินโต คำว่า เอมะ (絵馬) มาจากคำว่า เอ (絵) ที่แปลว่า รูปภาพ และ อุมะ,มะ (馬) ที่แปลว่า ม้า เริ่มแรกภาพวาดบนแผ่นป้ายไม้ขอพรจะเป็นรูปม้า แต่ในปัจจุบันแม้ภาพวาดบนแผ่นป้ายไม้ขอพรและลักษณะของแผ่นป้ายไม้จะมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้นไม่ใช่เพียงรูปม้าอย่างเดียว แต่ก็ยังเรียกว่าเอมะ (絵馬) เช่นเดิม

ที่มาของ เอมะ (絵馬)

แผ่นป้ายไม้ขอพร เอมะ (絵馬) นั้นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยลัทธิชินโตเชื่อกันว่า ม้าเป็นสัตว์พาหนะศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า ในสมัยโบราณจึงมีการใช้ม้าตัวเป็นๆ มาถวายที่ศาลเจ้าเพื่อเป็นการสักการะ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนสามารถรจะนำม้าทั้งตัวมาถวายได้ ว่ากันว่าในยุคเฮอันผู้นับถือศาสนาชินโตเริ่มนิยมใช้แผ่นไม้ที่มีรูปวาดม้าเป็นเครื่องสักการะเทพเจ้ามากขึ้น โดยเริ่มมีการเปลี่ยนเป็นรูปปั้นม้าที่ทำจากดิน ไม้แกะสลักรูปม้า จนกลายมาเป็นภาพวาดรูปม้าบนแผ่นไม้ ยุคมุโรมาจิจนถึงยุคเอโดะก็มีการปรับเปลี่ยนมาใช้แผ่นไม้ที่มีขนาดเล็กลง เป็นที่มาของ แผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬) ในปัจจุบัน

วิธีการเขียนเอมะ (絵馬)

เทคนิคการเขียนแผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬) ให้สัมฤทธิผล

1. เขียนคำอธิษฐานบนแผ่นป้ายไม้ขอพร ด้วยประโยคที่สื่อว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นจริงตามที่อธิษฐานในเวลาที่ต้องการ เช่น ฉันสอบเข้ามหาลัย XX ได้ในปีนี้ แทนคำอธิษฐานว่า ขอให้สอบเข้ามหาลัย XX ได้ในปีนี้ หรือ ฉันแต่งงานกับคุณ…. ภายในปี…แทนคำอธิษฐานว่า ขอให้ได้แต่งงานกับคุณ…. ภายในปี…

2. อ่านคำอธิษฐานซ้ำๆ ทุกวัน อย่างน้อยในสัปดาห์แรก และค่อยๆกำหนดช่วงเวลาที่จะกลับมาอ่าน เช่น ทุกอาทิตย์ ทุกเดือน เป็นต้น

3. การเขียนแผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬) เรื่องความรักที่สมหวังและความปลอดภัยของครอบครัว ควรเขียนในแนวนอน หากเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน เช่น จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย เปลี่ยนงาน ธุรกิจรุ่งเรือง หรือชนะการแข่งขัน ควรเขียนในแนวตั้ง

4. แขวนคำอธิษฐานบนแผ่นป้ายไม้ขอพรโดยนำด้านที่เขียนคำอธิษฐานออกมาด้านนอก เพื่อให้เทพเจ้าสามารถเห็นได้ชัดเจน

5. การเขียนคำอธิษฐานบนแผ่นป้ายไม้ขอพร ควรจะทำสองครั้ง คือตอนที่ไปขอพรครั้งแรก ครั้งที่สองคือไปเขียนเพื่อขอบคุณภายใน 1 ปีเมื่อคำอธิษฐานนั้นเป็นจริง

ข้อควรระวังในการเขียนเอมะ (絵馬)

เขียนคำอธิษฐานบนแผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬) ด้านที่ว่าง ไม่มีลวดลาย ควรใช้ปากกาที่มีหมึกกันน้ำเพื่อไม่ให้ข้อความอธิษฐานของเราเลือนหายไปกับน้ำฝน ซึ่งศาลเจ้าส่วนใหญ่มักจะเตรียมอุปกรณ์ไว้ให้เราแล้ว การเขียนเอมะ (絵馬)เป็นการเขียนคำอธิษฐานถึงเทพเจ้า จึงควรเขียนตัวบรรจง ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ และเขียนด้วยความรู้สึกที่มาจากใจจริง เพื่อให้เทพเจ้าทราบว่าเป็นคำอธิษฐานจากใคร จึงควรเขียนชื่อและที่อยู่ของเราลงไปบนแผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬) ด้วย แต่ปัจจุบันเกิดปัญหาล่วงละเมิดข้อมูลสิทธิส่วนบุคคลมากขึ้น เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล แนะนำให้เขียนที่อยู่ วันเดือนปีเกิด หรือข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ เป็นการใช้ตัวอักษรย่อแทน

นำแผ่นป้ายไม้ขอพรกลับบ้านได้หรือไม่?

คนส่วนใหญ่มักจะแขวนแผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬) ไว้ในพื้นที่ที่ทางศาลเจ้าจัดเตรียมไว้ให้ เพราะเชื่อกันว่าหากนำแผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬)ที่เขียนคำอธิษฐานกลับบ้านไปโดยไม่แขวนไว้ที่ศาลเจ้า คำอธิษฐานนั้นอาจส่งไปไม่ถึงเทพเจ้า แต่สำหรับใครที่อยากจะนำแผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬) กลับบ้านไปเป็นที่ระลึก ก็ขอแนะนำว่าควรนำไปไปแขวนไว้ในที่ที่สูงกว่าระดับสายตาหรือวางไว้บนแท่นบูชาหรือห้องพระในบ้าน

เอมะ (絵馬) แบบแปลกๆ น่ารักๆ

ในปัจจุบันเนื่องจากไม่มีกฎหรือข้อกำหนดตายตัวว่าภาพวาดบนแผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬) และลักษณะของแผ่นป้ายไม้ไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงรูปม้าอย่างเดียว ทำให้มีแผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬)หลากหลายรูปแบบมากขึ้น โดยจะมีลักษณะเฉพาะของสถานที่นั้นๆตัวอย่างเช่น

ศาลเจ้าซังโคอินาริ (三光稲荷神社)

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

A post shared by あやか (@ayastagram_75)

แผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬) รูปหัวใจเพื่อคู่ชายหญิงและครอบครัวเป็นสุข! เอมะรูปหัวใจที่มีคำว่า เอน「縁」เขียนอยู่บนนั้น กล่าวกันว่าจะนำความโชคดีมาสู่การแต่งงานที่ดีระหว่างชายและหญิง ความปรองดองในครอบครัว และความปรองดองในชีวิตสมรส

ศาลเจ้าคาวาอิ (河合神社)

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

A post shared by fum!♡ (@fumi_stagram.817)

ศาลเจ้าคาวาอิเป็นหนึ่งในศาลเจ้าในเครือของศาลเจ้าชิโมกาโมะซึ่งเป็นมรดกโลก ว่ากันว่าเทพเจ้าที่สถิตอยู่ ทามาโยริฮิเมะ โนะ มิโคโตะ ได้รับการขนานนามว่าเป็น "เทพเจ้าแห่งความงามในญี่ปุ่น" ที่นี่คือการเขียนแผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬) เพื่ออธิษฐานเรื่องความงามได้ (ก่อนจะไปจะศัลฯให้สวยต้องมาที่นี่)

ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ (伏見稲荷大社)

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

A post shared by ena (@ena_sj)

ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริในเกียวโต ใช้แผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬) เป็นรูปจิ้งจอก เนื่องจากจิ้งจอกเป็นผู้รับใช้ส่งสารของเทพอินาริ รวมทั้งยังมีแผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะที่มีภาพวาดคาแรคเตอร์ตัวการ์ตูนอีกมากมายหลายรูปแบบที่ศาลเจ้านี้อีกด้วย

สรุป

คนญี่ปุ่นค่อนข้างจะมีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งของที่จะนำพาโชคลาภมาให้ซึ่งหลายๆคนอาจจะเคยรู้จักกันมาบ้างแล้วจากบทความ รวมฮิต! เครื่องรางของขลังต่างๆของญี่ปุ่น โดยครั้งนี้ได้มีเรื่องราวของแผ่นป้ายไม้ขอพรเอมะ (絵馬) มานำเสนอทั้งประวัติความเป็นมา วิธีการเขียนอย่างไรให้สัมฤทธิผลและข้อควรระวัง หวังว่าทุกคนที่มาเที่ยวประเทศญี่ปุ่นและมีโอกาสไปศาลเจ้าจะนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์กันนะ

นักเขียน

WeXpats
นำเสนอบทความที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำงาน และการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น รวมไปจนถึงบทความแนะนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บทความที่เกี่ยวข้อง 関連記事

บทความพิเศษ 特集

บทความยอดนิยม 人気記事

โซเชียลมีเดีย ソーシャルメディア

นำเสนอข้อมูลล่าสุดในญี่ปุ่นใน 9 ภาษา!

  • English
  • 한국어
  • Tiếng Việt
  • မြန်မာဘာသာစကား
  • Bahasa Indonesia
  • 中文 (繁體)
  • Español
  • Português
  • ภาษาไทย
TOP/ วัฒนธรรมญี่ปุ่น/ วัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม/ เอมะ (絵馬) แผ่นป้ายขอพรตามศาลเจ้าญี่ปุ่น

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของเว็บไซต์ของเรา โปรดคลิก "ยอมรับ" เพื่อยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราโปรดคลิกที่นี่

นโยบายการใช้คุกกี้