ตอนนี้ คากิโกริ (かき氷) น้ำแข็งไสแสนอร่อยสไตล์ญี่ปุ่น ก็มาแรงไม่แพ้บิงซูของเกาหลีเลยทีเดียว แต่ก่อนที่จะไปกินน้ำแข็งไสแสนอร่อยสไตล์ญี่ปุ่น มารู้จักกันก่อนว่าคากิโกริคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร จะได้เอาไว้แชร์ให้เพื่อนฟัง กินน้ำแข็งไสแสนอร่อยสไตล์ญี่ปุ่นไปพร้อมๆกับได้ความรู้กัน
■ ประวัติและที่มาของน้ำแข็งไส
ชาวญี่ปุ่นคิดค้นคากิโกริมาดับร้อนตั้งแต่สมัยเฮอันหรือในศตวรรษที่11 คากิโกริทำจากน้ำแข็งก้อนที่เก็บรักษาไว้ตั้งแต่ฤดูหนาว ในสมัยก่อนยังใช้มีดในการบดน้ำแข็งให้ละเอียด และรับประทานกับน้ำหวานที่ได้มาจากต้นไม้และดอกไม้ เช่น ต้นองุ่น ต้นไฮเดรนเยีย และพวกไม้เลื้อยต่างๆ ที่มีน้ำหวาน พร้อมกับราดน้ำเชื่อมที่มีส่วนผสมของทอง ซึ่งคากิโกรินั้นเป็นของหวานสำหรับชนชั้นสูงเท่านั้น ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ในสมัยเมจิ สามัญชนได้เริ่มมีโอกาสลิ้มลองความอร่อยของคากิโกริ อย่างไรก็ตาม น้ำแข็งก็ยังมีราคาแพง เพราะต้องนำเข้าน้ำแข็งจากประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเรียกน้ำแข็งในสมัยนั้นว่า "Boston Ice" แต่ต้องใช้เวลาในการขนส่งนานถึงครึ่งปีกว่าจะถึงประเทศญี่ปุ่น เมื่อเจ้าของธุรกิจอาหารนามว่า คาเฮ นาคากาวะ ประสบความสำเร็จในการส่งน้ำแข็ง 'Hakodate Ice' จากเมืองฮฮกไกโดมายังเมืองโยโกฮาม่า จึงทำให้ชาวญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องรอน้ำแข็งจากประเทศสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป อีกทั้งความสำเร็จในการส่งน้ำแข็งครั้งนี้ได้ส่งผลให้เกิดร้านน้ำแข็งไสคากิโกริร้านแรกในปี 1872 บริเวณแถบบาชามิจิ ของจังหวัดคะนะงะวะ มีการประดิษฐ์เครื่องทำน้ำแข็งในสมัยเมจิและเครื่องไสน้ำแข็งในสมัยโชวะในยุค 1930 ตั้งแต่นั้นมาการหารับประทานคากิโกริก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
บทความแนะนำ
■ น้ำแข็งไส คืออะไร?
คากิโกริคือ น้ำแข็งไสเกล็ดหิมะของประเทศญี่ปุุ่น ซึ่งเป็นที่นิยมทานในฤดูร้อน เพราะเย็นชื่นใจ และหวาน เพราะส่วนประกอบหลักๆ ของคากิโกริคือ น้ำแข็ง น้ำเชื่อม โดยที่อาจจะมีนมข้นเป็นส่วนผสมบ้างในบางพื้นที่ ซึ่งน้ำเชื่อมหรือน้ำหวานจะมีหลากหลายรสชาติ เช่น เมลอน สตรอเบอร์รี่ เชอรี่ เลมอน ชาเขียว องุ่น เป็นต้น แต่ปัจจุบันก็ได้มีการผสมผสานนำท้อปปิ้งหลากชนิดมาทานคู่กับคากิโกริ เช่น ผงคินาโกะ และมีการนำผลไม้ประจำฤดูกาลมาเป็นท้อปปิ้งเสริมความอร่อย เช่น สตรอเบอร์รี่ พีช และเมล่อน เป็นต้น
■ น้ำแข็งไสของคันโต vs คันไซ ต่างกันอย่างไร
เมื่อคุณนึกถึงน้ำแข็งไส คุณสามารถนึกถึงน้ำแข็งไสในถ้วยที่ราดน้ำเชื่อมหลากหลายรส แต่มีบันทึกว่าคันโตและคันไซแตกต่างกัน อ้างอิงจาก Tokyo and Osaka: A Comparison Encyclopedia of Taste (เขียนโดย Kazuyoshi Maegaki: PHP Institute) โดยกล่าวว่า วิธีทำน้ำแข็งไสในคันโตคือ ขั้นแรก ใส่น้ำเชื่อมลงในชามแล้วไสน้ำแข็งลงไป ตบท้ายด้วยน้ำเชื่อมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากคุณใส่น้ำเชื่อมจำนวนมากบนน้ำแข็ง กองน้ำแข็งจะยุบตัวและรูปร่างจะไม่สวย นอกจากนี้ "ในภูมิภาคคันโต น้ำแข็งจะถูกไสอย่างหยาบๆ แต่ในภูมิภาคคันไซ (โดยเฉพาะเกียวโต) น้ำแข็งจะถูกไสเป็นเส้นแบบบาง
■ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “น้ำแข็งไส” ที่อยากจะเล่าให้ฟัง
รู้ไหมว่ามี "วันน้ำแข็งไส"ที่ญี่ปุ่นด้วย สมาคม Japan Shaved Ice Association ได้จัดตั้ง " Shaved Ice Day" ในวันที่ 25 กรกฎาคม เกิดจากการเล่นสำนวนของ "na (7), tsu (2), go (5) ori" อันที่จริงมีอีกเหตุผลหนึ่งว่าทำไมจึงเป็นวันที่ 25 กรกฎาคม เนื่องจากในวันนี้ในปี 1933 (โชวะ 8) อุณหภูมิสูงสุดในญี่ปุ่นที่ 40.8 องศาถูกบันทึกในเมืองยามากาตะซึ่งน่าแปลกใจในญี่ปุ่นที่อุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส
ถือได้ว่าคากิโกริเป็นของหวานที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่า 1200 ปี นับตั้งแต่สมัยเฮฮันจนถึงปัจจุบัน ความนิยมในการรับประทานคากิโกริมีมากขึ้นเรื่อยๆ และได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยที่ตอนนี้กระแส "คากิโกริ" เริ่มมาแรง เพราะนอกจากจะช่วยคลายร้อนแล้ว ยังอร่อย แถมยังหวานชื่นใจ