ตุ๊กตาฮินะ (ひな人形)

เทศกาลวันเด็กผู้หญิงหรือฮินะมัตสึริ (ひな祭り) ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน ในประเทศจีนโบราณมีเทศกาลชำระร่างกายด้วยน้ำและชำระวิญญาณชั่วร้ายในวันแรกของเดือนมีนาคม ซึ่งถือเป็นต้นแบบของฮินะมัตสึริ โดยใช้ตุ๊กตาแทนตัวมนุษย์ ในสมัยเฮอันมีการจัดเทศกาลทุกปีโดยเรียกหมอผีมาสวดมนต์ เพื่อกำจัดวิญญาณชั่วร้าย และเตรียมเครื่องบูชาและนำตุ๊กตาลอยน้ำ เพื่อให้สิ่งชั่วร้ายลอยไปกับน้ำเหลือเพียงสิ่งดีๆ

■ ความเป็นมา

เทศกาลวันเด็กผู้หญิงหรือฮินะมัตสึริ (ひな祭り) ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ต้นกำเนิดของมันคือการผสมผสานของ "ฮิอินะ อาโซบิ" (雛遊 ひいなあそび) ละครหุ่นสำหรับเด็กชนชั้นสูง ประเพณีการชำระวิญญาณชั่วร้ายและกิจกรรมในราชสำนักจากจีนโบราณในช่วงสมัยเฮอัน ดูเหมือนว่าวันเทศกาลจะจัดขึ้นในต้นเดือนมีนาคมประมาณวันที่ 3 มีนาคมอีกด้วย ในสมัยเอโดะ ในช่วงเวลานี้เทศกาลวันเด็กผู้หญิงหรือฮินะมัตสึริ (ひな祭り) กลายเป็นที่นิยมในหมู่คนทั่วไป และเทศกาลวันเด็กผู้หญิงหรือฮินะมัตสึริ (ひな祭り) เริ่มมีการเฉลิมฉลองด้วยตุ๊กตาในสมัยเอโดะตอนต้น มีตุ๊กตาเพียงคู่เดียว แต่ในช่วงกลางของสมัยเอโดะ มีการตกแต่งขั้นบันไดขึ้นและเพิ่มจำนวนตุ๊กตาขึ้น ถือเป็นยุคสมัยที่ผู้คนต่างแข่งขันกันเพื่อแสดงถึงความร่ำรวย เทศกาลวันเด็กผู้หญิงหรือฮินะมัตสึริ (ひな祭り)ในปัจจุบัน มีการจัดทำตุ๊กตาตัวละครและทรงผมที่ทันสมัยขึ้น นอกจากนี้ คุณสามารถเลือกตุ๊กตาฮินะได้หลายแบบเพื่อให้เหมาะกับรสนิยมของคุณ เช่น ตุ๊กตาขนาดกะทัดรัดที่เข้ากับสถานที่จัดเก็บและตุ๊กตาที่มาในกล่อง สำหรับวิธีการฉลองนั้น ดูเหมือนว่าเป็นวิธีการฉลองที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ในยุคปัจจุบัน

■ ความหมายของตุ๊กตาฮินะ

ในสมัยก่อน การตายของทารกมีสูง และมีเพียงความเชื่อที่ว่าพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่าเด็กจะเติบโตได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ ดังนั้นจึงเป็นธรรมเนียมที่จะต้องนำตุ๊กตาตัวหนึ่งมารับสิ่งชั่วร้ายแทนตัวเด็ก ตุ๊กตาทดแทนมีสอง 2 ประเภทได้แก่ อามาคัตสึ (天児) ตุ๊กตาแบบยืนมักใช้ในบ้านของขุนนางในสมัยเฮอัน มีหัวกลมทำด้วยไหมขาว วาด ตา จมูก ปาก ผม และ แต่งตัว เพื่อโอนความโชคร้ายของทารกไปยังตุ๊กตาตัวนี้ และตุ๊กตาโฮโคะ(這子) ตุ๊กตาเย็บผ้าไหมสีขาวทั้งสี่มุมเข้าด้วยกัน ใส่ผ้าฝ้าย เย็บปิดส่วนท้องเพื่อทำลำตัว จากนั้นเย็บมุมทั้งสี่นี้กลายเป็น แขนและขา. วาดตา จมูก และปาก วาดให้เด็กผู้ชายปิดปาก และเด็กผู้หญิงจะอ้าปาก กล่าวกันว่าตุ๊กตาตัวนี้เป็นต้นกำเนิดของตุ๊กตายัดนุ่น โดยเรียกหมอผีมาสวดมนต์ เพื่อกำจัดวิญญาณชั่วร้าย และเตรียมเครื่องบูชาและนำตุ๊กตาลอยน้ำ เพื่อให้สิ่งชั่วร้ายลอยไปกับน้ำ เมื่อเวลาผ่านไป เริ่มมีการจัดตุ๊กตาฮินะที่ทำด้วยมือแบบดั้งเดิมวางไว้บนชั้น ปกติจะมีทั้งหมด 7 ชั้น รอบๆ ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช โมจิ และอาหาร รวมไปถึงสาเกขาว จะจัดวางอย่างงดงามและไม่ได้ปล่อยไหลลงไปในแม่น้ำ กล่าวอีกนัยหนึ่งการตกแต่งตุ๊กตาฮินะประกอบด้วยคำอธิษฐานของพ่อแม่โดยหวังว่าลูก ๆ ของพวกเขาจะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงและมีความสุข

■ ต้นกำเนิดของตุ๊กตาฮินะ

ตุ๊กตาฮินะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ตุ๊กตาฮินะ มีต้นกำเนิดมาจาก คาตาชิโระ(形代)ในสมัยโบราณจะเป็นกระดาษรูปคน ตั้งแต่สมัยโบราณชาวญี่ปุ่นได้ทำตุ๊กตาและอธิษฐานเผื่อไว้ เห็นได้จากโบราณวัตถุที่ขุดพบมากมาย ในสมัยเฮอัน คาตาชิโระ(形代)เป็นหนึ่งในความเชื่อแทนบุคคล โดยเชื่อว่าสามารถโอนการบาดเจ็บและภัยพิบัติของคนไปยังตุ๊กตาคาตาชิโระ และปล่อยลอยไปในแม่น้ำหรือทะเล ภาวนาให้เด็กเติบโต ขึ้นอย่างปลอดภัย เป็นที่มาตุ๊กตาฮินะ (ひな人形) และราวๆ สมัยมุโรมาจิ เทศกาลวันเด็กผู้หญิงหรือฮินะมัตสึริ (ひな祭り) ถูกกำหนดเป็นวันที่ "3 มีนาคม" ของทุกปี

■ นางาชิบินะ 流し雛

กล่าวกันว่าเป็นต้นกำเนิดของตุ๊กตาฮินะอีกอย่างที่เรียกว่า "นางาชิบินะ" (流し雛) มีความหมายถึงการชำระสิ่งไม่ดี ความเจ็บป่วยของร่างกายลงในน้ำเพื่อทำให้บริสุทธิ์ โดยใช้ไม้ กระดาษ และหญ้าเป็นวัตถุดิบสำหรับการทำคาตาชิโระ(形代)เป็นหนึ่งในความเชื่อในเรื่องรับสิ่งชั่วร้ายแทนบุคคล โดยนำไปลอยลงในแม่น้ำเพื่อดูแลสุขภาพของเด็กๆ แม้กระทั่งตอนนี้ มีหลายพื้นที่ในญี่ปุ่นที่มีการจัดงานนางาชิบินะ (流し雛) อยู่

■ รูปแบบตุ๊กตาฮินะ

กล่าวกันว่าในสมัยก่อนตุ๊กตาฮินะจะเริ่มมาจากตุ๊กตารูปแบบยืนที่เรียกกัน อามาคัตสึ (天児) ตุ๊กตาแบบยืนมักใช้ในบ้านของขุนนางในสมัยเฮอัน มีหัวกลมทำด้วยไหมขาว ที่วาดตาจมูกปากและผมแต่งตัว เพื่อโอนความโชคร้ายของทารกไปยังตุ๊กตาตัวนี้ และตุ๊กตาโฮโคะ(這子) ตุ๊กตาเย็บผ้าไหมสีขาวทั้งสี่มุมเข้าด้วยกัน ใส่ผ้าฝ้าย เย็บปิดส่วนท้องเพื่อทำลำตัว จากนั้นเย็บมุมทั้งสี่นี้กลายเป็นแขนและขา วาดตา จมูก และปาก วาดให้เด็กผู้ชายปิดปาก และเด็กผู้หญิงจะอ้าปาก กล่าวกันว่าตุ๊กตาตัวนี้เป็นต้นกำเนิดของตุ๊กตายัดนุ่น เมื่อทำพิธีแล้วก็นำไปลอยน้ำ ต่อมาก็เป็น ตุ๊กตามุโรมาจิบินะ (室町雛) ในสมัยมุโรมาจิมีการเปลี่ยนแปลงจากตุ๊กตาฮินะแบบยืนมาเป็นแบบนั่ง ตุ๊กตาฮินะผู้ชายนั่งอยู่ในโนชิ (ชุดที่บุรุษผู้สูงศักดิ์สวมใส่ทุกวัน) และสวมฮากามะ ตุ๊กตาฮินะผู้หญิงนั่งกางแขนเสื้อ และสวมฮากามะ ต่อมาเป็นตุ๊กตาคาเนอิบินะ ตุ๊กตาคาเนอิบินะ (寛永雛) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของตุ๊กตาจักรพรรดิและจักรพรรดินีในปัจจุบัน ต่อมาก็มี ตุ๊กตาเคียวโฮบินะ (享保雛) , ตุ๊กตาจิโรซาเอมอน-บินะ (次郎左衛門雛) ความสง่างามของตุ๊กตาจิโรซาเอมอน ฮินะ เป็นที่นิยมในเอโดะ และสุดท้ายคือ ตุ๊กตายูโซกุบินะ (有職雛) สามารถเปลี่ยนชุดได้และรูปแบบการวาดหน้าที่ค่อนข้างชัดเจน ตุ๊กตาแบบนี้นิยมกันมากตั้งแต่สมัยเมจิถึงปัจจุบัน

สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลวันเด็กผู้หญิงหรือฮินะมัตสึริ (ひな祭り) เพิ่มเติมได้ในบทความ เทศกาลวันเด็กผู้หญิง ฮินะมัตสึริ (ひな祭り)

นักเขียน

WeXpats
นำเสนอบทความที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำงาน และการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น รวมไปจนถึงบทความแนะนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บทความที่เกี่ยวข้อง 関連記事

บทความพิเศษ 特集

บทความยอดนิยม 人気記事

โซเชียลมีเดีย ソーシャルメディア

นำเสนอข้อมูลล่าสุดในญี่ปุ่นใน 9 ภาษา!

  • English
  • 한국어
  • Tiếng Việt
  • မြန်မာဘာသာစကား
  • Bahasa Indonesia
  • 中文 (繁體)
  • Español
  • Português
  • ภาษาไทย

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของเว็บไซต์ของเรา โปรดคลิก "ยอมรับ" เพื่อยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราโปรดคลิกที่นี่

นโยบายการใช้คุกกี้