ปฏิทินญี่ปุ่น: ปีงบประมาณ วันหยุดต่างๆ และชื่อยุคสมัยของญี่ปุ่น

คุณเคยสับสนเกี่ยวกับปฏิทินญี่ปุ่นหรือไม่? สำหรับคนที่ต้องติดต่อประสานงานกับประเทศญี่ปุ่นคุณอาจจะต้องศึกษาตั้งแต่ปีงบประมาณในญี่ปุ่น วันหยุดราชการ ระบบการตั้งชื่อปีตามยุคสมัย ตลอดจนภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อปฏิทินของญี่ปุ่นมาจนถึงทุกวันนี้ บทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว!

สารบัญ

ปฏิทินญี่ปุ่น

ระบบปฏิทินที่ญี่ปุ่นใช้นั้นเป็นอย่างไร รวมถึงเวลาที่ปีงบประมาณเริ่มต้นและสิ้นสุดในญี่ปุ่น วิธีเรียกเดือนและวันในสัปดาห์เป็นภาษาญี่ปุ่นด้วย

ระบบปฏิทินและปีงบประมาณ

แรกเริ่มญี่ปุ่นใช้ปฏิทินจันทรคติเหมือนประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชีย แต่ปฏิทินญี่ปุ่นได้เริ่มใช้ตามแบบปฏิทินเกรกอเรียนเหมือนประเทศส่วนใหญ่ของโลกช่วงยุคเมจิในปี 1973 

ปีงบประมาณของญี่ปุ่นที่รัฐบาลกำหนด คือตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมีนาคมปีถัดไป โดยแบ่งระยะเวลาไตรมาสละสามเดือน ได้แก่ เมษายนถึงมิถุนายน กรกฎาคมถึงกันยายน ตุลาคมถึงธันวาคม และมกราคมถึงมีนาคม ปีการศึกษาและการทำงานใหม่มักเริ่มในเดือนเมษายน อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างๆ มีอิสระในการตัดสินใจเลือกปีงบประมาณของตนเอง ดังนั้นบางบริษัทจะใช้ปีงบประมาณที่รัฐบาลกำหนด และบางบริษัทจะใช้ตามแบบปีปฏิทิน ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าสิ่งใดตามระบบปฏิทิน และสิ่งใดตามปีงบประมาณ ตัวอย่างเช่น ภาษีบุคคลธรรมดาจะใช้ปีปฏิทินในการคำนวณไม่ใช่ปีงบประมาณ

เรื่องน่ารู้: ปีอธิกสุรทิน (ปีที่มี 366 วัน) เรียกว่า「うるう年 uruudoshi」และวันอธิกสุรทิน (วันที่ 29 กุมภาพันธ์) เรียกว่า「うるう日 uruubi」หรือบางทีก็เรียกว่า「閏日 jyunjitsu」

เดือนในภาษาญี่ปุ่น

เดือนในภาษาญี่ปุ่นนั้นง่ายมากสามารถเรียกได้ง่ายๆดังนี้

เดือน

ภาษาญี่ปุ่น

มกราคม

1月 (Ichigatsu)

กุมภาพันธ์

2月 (Nigatsu)

มีนาคม

3月 (Sangatsu)

เมษายน

4月 (Shigatsu)

พฤษภาคม

5月 (Gogatsu)

มิถุนายน

6月 (Rokugatsu)

กรกฎาคม

7月 (Shichigatsu)

สิงหาคม

8月 (Hachigatsu)

กันยายน

9月 (Kugatsu)

ตุลาคม

10月 (Jyuugatsu)

พฤศจิกายน

11月 (Jyuuichigatsu)

ธันวาคม

12月 (Jyuunigatsu)

วันในภาษาญี่ปุ่น

วันก็เรียกตามดาวเคราะห์เช่นเดียวกับไทย

วัน

ภาษาญี่ปุ่น

ชื่อดาวเคราะห์

วันอาทิตย์

日曜日 (Nichiyoubi)

ดวงอาทิตย์

วันจันทร์

月曜日 (Getsuyoubi)

ดวงจันทร์

วันอังคาร

火曜日 (Kayoubi)

ดาวอังคาร

วันพุธ

水曜日 (Suiyoubi)

ดาวพุธ

วันพฤหัสบดี

木曜日 (Mokuyoubi)

ดาวพฤหัสบดี

วันศุกร์

金曜日 (Kinyoubi)

ดาวศุกร์

วันเสาร์

土曜日 (Doyoubi)

ดาวเสาร์

วันหยุดนักขัตฤกษ์ในญี่ปุ่น

วันหยุดนักขัตฤกษ์ เรียกว่า 祝日 shukujitsu รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศให้ปัจจุบันมีวันหยุดนักขัตฤกษ์ 16 วัน ดังนี้

วันที่

ความสำคัญ

วันที่ 1 มกราคม

วันขึ้นปีใหม่

元日 (Ganjitsu)

วันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม

วันบรรลุนิติภาวะ

成人の日 (Seijin no Hi)

11 กุมภาพันธ์

วันชาติ

建国記念の日 (Kenkoku Kinen no Hi)

23 กุมภาพันธ์

วันประสูติของจักรพรรดิ

天皇誕生日 (Tennou Tanjoubi)

วันที่ 20 หรือ 21 มีนาคม

วสันตวิษุวัต

春分の日 (Shunbun no Hi)

29 เมษายน

วันโชวะ

昭和の日 (Showa no Hi)

3 พฤษภาคม

วันรัฐธรรมนูญ

憲法記念日 (Kenpou Kinenbi)

4 พฤษภาคม

วันสีเขียวหรือวันพฤษชาติ

みどりの日 (Midori no Hi)

5 พฤษภาคม

วันเด็กแห่งชาติ

こどもの日 (Kodomo no Hi)

วันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม

วันทะเล

海の日 (Umi no Hi)

11 สิงหาคม

วันภูเขา

山の日 (Yama no Hi)

วันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกันยายน

วันผู้สูงอายุ

敬老の日 (Keirou no Hi)

วันที่ 23 หรือ 24 กันยายน

วันศารทวิษุวัต

秋分の日 (Shuubun no Hi)

วันจันทร์ที่ 2 ของเดือนตุลาคม

วันกีฬา

スポーツの日 (Sports no Hi)

3 พฤศจิกายน

วันวัฒนธรรม

文化の日 (Bunka no Hi)

23 พฤศจิกายน

วันแรงงาน

勤労感謝の日 (Kinrou Kansha no Hi)

หากวันหยุดนักขัตฤกษ์ตรงกับวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดสำหรับคนทำงานและนักเรียนส่วนใหญ่แล้ว วันจันทร์ถัดไปจะเป็นวันหยุดทดแทนเรียกว่า「振替休日 furikae kyujitsu」วันหยุดเทศกาลเรียกว่า 「祭日 saijitsu」บางวันเคยเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันไม่ใช่วันหยุดนักขัตฤกษ์แล้ว ส่วนใหญ่มักจะเป็นพิธีกรรมหรือ “มัตสึริ” (เทศกาล) จัดขึ้นบ่อยครั้งในวัดและศาลเจ้า เทศกาลอย่างคริสต์มาสหรือวันวาเลนไทน์ซึ่งมีการเฉลิมฉลองในญี่ปุ่นแต่ไม่ใช่วันหยุดจากการทำงานหรือโรงเรียนจะเรียกว่า「行事 gyoji」

วันหยุดยาวในญี่ปุ่น

วันหยุดยาวในญี่ปุ่นบางช่วงอาจจะหยุดมากถึงหนึ่งสัปดาห์หากรวมกับวันหยุดลาพักผ่อนที่ได้รับค่าจ้าง ผู้คนมักเดินทางกลับบ้านเกิดในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม สังเกตได้ว่าราคาสำหรับการเดินทางและที่พักจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลานี้

วันหยุดปีใหม่

วันหยุดปีใหม่ของญี่ปุ่นมีการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการในช่วงสามวันแรกของเดือนมกราคม ธุรกิจส่วนใหญ่ปิดตั้งแต่ 3 วันก่อนวันหยุดปีใหม่ (ประมาณวันที่ 29 ธันวาคม) ทำให้หยุดยาวอย่างน้อย 6 วัน หลายคนจะกลับบ้านเกิด ส่ง คำอวยพรปีใหม่ ผ่าน「年賀状nengajo」หรือการ์ดปีใหม่นั่นเอง ทานอาหารญี่ปุ่นที่นิยมทานในช่วงปีใหม่ เช่น โอโซนิ (お雑煮) เป็นต้น เยี่ยมชมศาลเจ้าและวัดเพื่อขอพรในปีใหม่ ซื้อ ถุงโชคดีญี่ปุ่น (福袋) ต้อนรับปีใหม่ 

โกลเด้นวีค

วันหยุดนักขัตฤกษ์ติดต่อกันสามวันในต้นเดือนพฤษภาคม หลายคนสามารถลาหยุดงานต่อได้ประมาณหนึ่งสัปดาห์เมื่อรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์และวันลาพักร้อนที่ได้รับค่าจ้าง โกลเด้นวีค ประกอบด้วยวันรัฐธรรมนูญ 憲法記念日 (Kenpou Kinenbi) ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม, วันสีเขียวหรือวันพฤษชาติ みどりの日 (Midori no hi) วันที่ 4 พฤษภาคม และ วันเด็กแห่งชาติ こどもの日 (Kodomo no hi) วันที่ 5 พฤษภาคม 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่: โกลเด้นวีค (Golden week) เทศกาลวันหยุดยาวของญี่ปุ่น 

โอบ้ง

เทศกาลโอบ้ง (お盆) เป็นเทศกาลเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ซึ่งเชื่อกันว่าวิญญาณบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วจะกลับมาโลกภูมิมาหาลูกหลาน อาจจะเรียกได้ว่าเป็นวันสารทญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็จะกลับบ้านไปเยี่ยมครอบครัวและเตรียมตัวจัดงานเพื่อเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ เรียกได้ว่าเป็นวันรวมญาติของญี่ปุ่นเลยทีเดียว ส่วนใหญ่มักจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 16 สิงหาคมเป็นเวลา 4 วัน ซึ่งในอดีตเทศกาลโอบ้ง (お盆) จะจัดในช่วงวันที่ 13-16 กรกฎาคม ในปัจจุบันมักจะจัดช่วงกลางเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีช่วงเวลาไม่เหมือนกัน

元号 (gengo) หรือ 年号 (nengo): ปีปฏิทินของญี่ปุ่น

ปีปฏิทินญี่ปุ่นเป็นอะไรที่เข้าใจยากมากสำหรับคนต่างชาติ เพราะอ้างอิงยุคสมัยตามประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เรียกว่า 「元号 gengo」หรือ「年号 nengo」(มีความหมายเหมือนกันและสามารถใช้แทนกันได้) และปีคริสต์ศักราชที่มี 4 หลัก (เช่น 2022) เรียกว่า 「西暦 seireki」เวลากรอกเอกสารในญี่ปุ่นหากคุณเห็น「西暦 seireki」หรือเพียงแค่「西」ในแบบฟอร์มตามวันที่ เช่น เมื่อกรอกวันเกิดหรือวันที่ของวันนี้ คุณสามารถเขียนปีด้วยตัวเลขปีคริสต์ศักราช 4 หลัก แต่ถ้าคุณเห็นตัวอักษรคันจิเช่น 「昭」「平」「令」ที่คุณต้องวงกลมตัวที่ใช้มันคือปี 元号 (gengo) ตัวอย่างเช่น ถ้าวันเกิดของคุณคือปีคริสต์ศักราช 1990 คุณต้องวงกลม 「平」 และเขียนเลข 2 สำหรับปีนั้น เนื่องจาก 1990 คือ 「平成2年 Heisei 2」 หรือปีที่สองของยุค Heisei ดังนั้นการอาศัยในญี่ปุ่น อย่างน้อยสิ่งสำคัญคือต้องรู้ปี 元号 (gengo) วันเกิดของคุณเองและ元号 (gengo) ปีปัจจุบันด้วย 

元号 (gengo) 

ปี 元号 (gengo) สัมพันธ์กับเวลาที่จักรพรรดิองค์หนึ่งปกครองญี่ปุ่น และจำนวนที่ตามมาคือปีแห่งการปกครอง ในอดีตชื่อปี 元号 (gengo) จะเปลี่ยนชื่อบ่อยขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้น ปัจจุบัน 元号 (gengo) ใหม่เริ่มต้นขึ้นเมื่อจักรพรรดิองค์ใหม่ขึ้นครองบัลลังก์ รายชื่อปี 元号 (gengo) เมื่อเทียบกับคริสต์ศักราชมีดังนี้

ปี 元号 (gengo)

ปีคริสต์ศักราช

明治 Meiji

1868 - 1912

大正 Taisho

1912 - 1926

昭和 Showa

1926 - 1989

平成 Heisei

1989 - 2019.04

令和 Reiwa

2019.05~

ปฏิทินแบบดั้งเดิม

「節句 Sekku」เป็น 5 วันพิเศษในปีที่เป็นเทศกาลตามฤดูกาล เรียกว่า 五節句 (gosekku) เป็นพิเศษซึ่งเป็นประเพณีสืบทอดมาจากประเทศจีน แม้ว่ายังคงเฉลิมฉลองกันอย่างกว้างขวางในวันนี้ แต่ส่วนมากไม่ใช่วันหยุดนักขัตฤกษ์อีกต่อไปยกเว้นวันเด็กผู้ชายเพราะอยู่ในช่วงโกลเด้นวีค โดย 5 วันนี้ประกอบด้วย

  • วันที่ 1/7 หรือ 7 มกราคม เรียกว่าวัน 人日の節句 (Jinjitsu no Sekku) เป็นวันที่จะรับประทานข้าวต้มที่ใส่พืชผักของฤดูใบไม้ผลิ 7 ชนิด เพื่อผ่อนคลายกระเพาะอาหารหลังจากกินอย่างหนักหน่วงมาในช่วงปีใหม่

  • วันที่ 3/3 หรือ 3 มีนาคม เรียกว่า วัน 桃の節句 (Momo no Sekku) เป็นวันเด็กผู้หญิง ที่จะประดับตุ๊กตาผู้หญิงให้กับบุตรสาว

  • วันที่ 5/5 หรือ 5 พฤษภาคม เรียกว่า วัน 菖蒲の節句 (Tango no Sekku) หรือ วันเด็กผู้ชาย เป็นวันที่จะประดับตุ๊กตานักรบ และธงปลาคาร์ฟให้กับบุตรชาย

  • วันที่ 7/7 หรือ 7 กรกฎาคม เรียกว่า วัน 笹の節句 (Sasa no Sekku) หรือ วันทานาบาตะ (七夕) เป็นวันเทศกาลดวงดาว ที่เจ้าหญิงทอผ้าจะได้พบกับคนรักที่ทางช้างเผือก 

  • วันที่ 9/9 หรือ 9 กันยายน เรียกว่า วัน 菊の節句 (Kiku no sekku) หรือวันดอกเบญจมาศ เป็นวันที่พระราชวังจะจัดพิธีชมดอกเบญจมาศ

「六曜 Rokuyo」 เป็นอีกระบบปฏิทินแบบดั้งเดิมที่ค่อนข้างไม่เป็นทางการซึ่งยังคงพบได้ในปฏิทินในปัจจุบัน คุณอาจเห็นตัวอักษรคันจิบางตัวเขียนถัดจากวันที่ในปฏิทิน คันจิ 1 ใน 6 ชนิด บ่งบอกถึงโชคลางในวันนั้น ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อได้รับอิทธิพลอย่างมากจากจีน ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากยังคงเชื่อในเรื่องนี้ อย่างน้อยก็เพื่อการวางแผนงานใหญ่ๆ มากกว่าสำหรับชีวิตประจำวัน!

  • 「大安 Taian」- โชคดีที่สุด งานใหญ่เช่นงานแต่งงานการเปิดธุรกิจ ฯลฯ มักจะมีการวางแผนในวันนี้

  • 「先勝 Sakimake」ซึ่งบอกเป็นว่าโชคดีในตอนเช้าและค่อย ๆ ลดลงในช่วงบ่าย

  • 「先負 Sakimake」อยู่ตรงข้ามกับ 先勝 Sakimake ที่ไม่มีโชคในตอนเช้าและโชคดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปถึงช่วงบ่าย

  • 「友引 Tomobiki」ตอนเช้าและตอนเย็นดี แต่ระหว่างเวลา 11:00 น. ถึง 13:00 น.นั้นไม่ดี

  • 「赤口 Shakkou」เป็นวันที่โชคร้ายที่รองจาก 仏滅 (Butsumetsu) ว่ากันว่าโชคดีในระหว่างเวลา 11:00 ถึง 13:00 เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงถือเป็นวันที่ไม่เหมาะสมสำหรับการเฉลิมฉลอง

  • 「仏滅 Butsumetsu」เป็นวันที่โชคร้ายที่สุด ดังนั้นผู้คนควรระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงความโชคร้าย คนที่เชื่อใน 六曜 Rokuyo จะไม่แต่งงานในวันนี้อย่างแน่นอน

สรุป

เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นข้อมูลปฏิทินญี่ปุ่นที่ทำให้คุณมองเห็นภาพและเข้าใจในปฏิทินญี่ปุ่นมากขึ้น และสามารถนับปฏิทินแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า 元号 (gengo) ได้เนื่องจากปฏิทินญี่ปุ่นอ้างอิงถึงประเพณีทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมากมาย ที่มาพร้อมกับวันหยุดของญี่ปุ่น และเราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณสนุกกับความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น!

นักเขียน

WeXpats
นำเสนอบทความที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำงาน และการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น รวมไปจนถึงบทความแนะนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บทความพิเศษ 特集

บทความยอดนิยม 人気記事

โซเชียลมีเดีย ソーシャルメディア

นำเสนอข้อมูลล่าสุดในญี่ปุ่นใน 9 ภาษา!

  • English
  • 한국어
  • Tiếng Việt
  • မြန်မာဘာသာစကား
  • Bahasa Indonesia
  • 中文 (繁體)
  • Español
  • Português
  • ภาษาไทย
TOP/ วัฒนธรรมญี่ปุ่น/ ฤดูกาลและเทศกาล/ ปฏิทินญี่ปุ่น: ปีงบประมาณ วันหยุดต่างๆ และชื่อยุคสมัยของญี่ปุ่น

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของเว็บไซต์ของเรา โปรดคลิก "ยอมรับ" เพื่อยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราโปรดคลิกที่นี่

นโยบายการใช้คุกกี้