คุณเคยสับสนเกี่ยวกับปฏิทินญี่ปุ่นหรือไม่? สำหรับคนที่ต้องติดต่อประสานงานกับประเทศญี่ปุ่นคุณอาจจะต้องศึกษาตั้งแต่ปีงบประมาณในญี่ปุ่น วันหยุดราชการ ระบบการตั้งชื่อปีตามยุคสมัย ตลอดจนภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อปฏิทินของญี่ปุ่นมาจนถึงทุกวันนี้ บทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว!
สารบัญ
- ปฏิทินญี่ปุ่น
- วันหยุดนักขัตฤกษ์ในญี่ปุ่น
- 元号 (gengo) หรือ 年号 (nengo): ปีปฏิทินของญี่ปุ่น
- ปฏิทินแบบดั้งเดิม
- สรุป
■ ปฏิทินญี่ปุ่น
ระบบปฏิทินที่ญี่ปุ่นใช้นั้นเป็นอย่างไร รวมถึงเวลาที่ปีงบประมาณเริ่มต้นและสิ้นสุดในญี่ปุ่น วิธีเรียกเดือนและวันในสัปดาห์เป็นภาษาญี่ปุ่นด้วย
ระบบปฏิทินและปีงบประมาณ
แรกเริ่มญี่ปุ่นใช้ปฏิทินจันทรคติเหมือนประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชีย แต่ปฏิทินญี่ปุ่นได้เริ่มใช้ตามแบบปฏิทินเกรกอเรียนเหมือนประเทศส่วนใหญ่ของโลกช่วงยุคเมจิในปี 1973
ปีงบประมาณของญี่ปุ่นที่รัฐบาลกำหนด คือตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมีนาคมปีถัดไป โดยแบ่งระยะเวลาไตรมาสละสามเดือน ได้แก่ เมษายนถึงมิถุนายน กรกฎาคมถึงกันยายน ตุลาคมถึงธันวาคม และมกราคมถึงมีนาคม ปีการศึกษาและการทำงานใหม่มักเริ่มในเดือนเมษายน อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างๆ มีอิสระในการตัดสินใจเลือกปีงบประมาณของตนเอง ดังนั้นบางบริษัทจะใช้ปีงบประมาณที่รัฐบาลกำหนด และบางบริษัทจะใช้ตามแบบปีปฏิทิน ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าสิ่งใดตามระบบปฏิทิน และสิ่งใดตามปีงบประมาณ ตัวอย่างเช่น ภาษีบุคคลธรรมดาจะใช้ปีปฏิทินในการคำนวณไม่ใช่ปีงบประมาณ
เรื่องน่ารู้: ปีอธิกสุรทิน (ปีที่มี 366 วัน) เรียกว่า「うるう年 uruudoshi」และวันอธิกสุรทิน (วันที่ 29 กุมภาพันธ์) เรียกว่า「うるう日 uruubi」หรือบางทีก็เรียกว่า「閏日 jyunjitsu」
เดือนในภาษาญี่ปุ่น
เดือนในภาษาญี่ปุ่นนั้นง่ายมากสามารถเรียกได้ง่ายๆดังนี้
เดือน |
ภาษาญี่ปุ่น |
มกราคม |
1月 (Ichigatsu) |
กุมภาพันธ์ |
2月 (Nigatsu) |
มีนาคม |
3月 (Sangatsu) |
เมษายน |
4月 (Shigatsu) |
พฤษภาคม |
5月 (Gogatsu) |
มิถุนายน |
6月 (Rokugatsu) |
กรกฎาคม |
7月 (Shichigatsu) |
สิงหาคม |
8月 (Hachigatsu) |
กันยายน |
9月 (Kugatsu) |
ตุลาคม |
10月 (Jyuugatsu) |
พฤศจิกายน |
11月 (Jyuuichigatsu) |
ธันวาคม |
12月 (Jyuunigatsu) |
วันในภาษาญี่ปุ่น
วันก็เรียกตามดาวเคราะห์เช่นเดียวกับไทย
วัน |
ภาษาญี่ปุ่น |
ชื่อดาวเคราะห์ |
วันอาทิตย์ |
日曜日 (Nichiyoubi) |
ดวงอาทิตย์ |
วันจันทร์ |
月曜日 (Getsuyoubi) |
ดวงจันทร์ |
วันอังคาร |
火曜日 (Kayoubi) |
ดาวอังคาร |
วันพุธ |
水曜日 (Suiyoubi) |
ดาวพุธ |
วันพฤหัสบดี |
木曜日 (Mokuyoubi) |
ดาวพฤหัสบดี |
วันศุกร์ |
金曜日 (Kinyoubi) |
ดาวศุกร์ |
วันเสาร์ |
土曜日 (Doyoubi) |
ดาวเสาร์ |
บทความแนะนำ
■ วันหยุดนักขัตฤกษ์ในญี่ปุ่น
วันหยุดนักขัตฤกษ์ เรียกว่า 祝日 shukujitsu รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศให้ปัจจุบันมีวันหยุดนักขัตฤกษ์ 16 วัน ดังนี้
วันที่ |
ความสำคัญ |
วันที่ 1 มกราคม |
วันขึ้นปีใหม่ 元日 (Ganjitsu) |
วันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม |
วันบรรลุนิติภาวะ 成人の日 (Seijin no Hi) |
11 กุมภาพันธ์ |
วันชาติ 建国記念の日 (Kenkoku Kinen no Hi) |
23 กุมภาพันธ์ |
วันประสูติของจักรพรรดิ 天皇誕生日 (Tennou Tanjoubi) |
วันที่ 20 หรือ 21 มีนาคม |
วสันตวิษุวัต 春分の日 (Shunbun no Hi) |
29 เมษายน |
วันโชวะ 昭和の日 (Showa no Hi) |
3 พฤษภาคม |
วันรัฐธรรมนูญ 憲法記念日 (Kenpou Kinenbi) |
4 พฤษภาคม |
วันสีเขียวหรือวันพฤษชาติ みどりの日 (Midori no Hi) |
5 พฤษภาคม |
วันเด็กแห่งชาติ こどもの日 (Kodomo no Hi) |
วันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม |
วันทะเล 海の日 (Umi no Hi) |
11 สิงหาคม |
วันภูเขา 山の日 (Yama no Hi) |
วันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกันยายน |
วันผู้สูงอายุ 敬老の日 (Keirou no Hi) |
วันที่ 23 หรือ 24 กันยายน |
วันศารทวิษุวัต 秋分の日 (Shuubun no Hi) |
วันจันทร์ที่ 2 ของเดือนตุลาคม |
วันกีฬา スポーツの日 (Sports no Hi) |
3 พฤศจิกายน |
วันวัฒนธรรม 文化の日 (Bunka no Hi) |
23 พฤศจิกายน |
วันแรงงาน 勤労感謝の日 (Kinrou Kansha no Hi) |
หากวันหยุดนักขัตฤกษ์ตรงกับวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดสำหรับคนทำงานและนักเรียนส่วนใหญ่แล้ว วันจันทร์ถัดไปจะเป็นวันหยุดทดแทนเรียกว่า「振替休日 furikae kyujitsu」วันหยุดเทศกาลเรียกว่า 「祭日 saijitsu」บางวันเคยเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันไม่ใช่วันหยุดนักขัตฤกษ์แล้ว ส่วนใหญ่มักจะเป็นพิธีกรรมหรือ “มัตสึริ” (เทศกาล) จัดขึ้นบ่อยครั้งในวัดและศาลเจ้า เทศกาลอย่างคริสต์มาสหรือวันวาเลนไทน์ซึ่งมีการเฉลิมฉลองในญี่ปุ่นแต่ไม่ใช่วันหยุดจากการทำงานหรือโรงเรียนจะเรียกว่า「行事 gyoji」
วันหยุดยาวในญี่ปุ่น
วันหยุดยาวในญี่ปุ่นบางช่วงอาจจะหยุดมากถึงหนึ่งสัปดาห์หากรวมกับวันหยุดลาพักผ่อนที่ได้รับค่าจ้าง ผู้คนมักเดินทางกลับบ้านเกิดในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม สังเกตได้ว่าราคาสำหรับการเดินทางและที่พักจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลานี้
วันหยุดปีใหม่
วันหยุดปีใหม่ของญี่ปุ่นมีการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการในช่วงสามวันแรกของเดือนมกราคม ธุรกิจส่วนใหญ่ปิดตั้งแต่ 3 วันก่อนวันหยุดปีใหม่ (ประมาณวันที่ 29 ธันวาคม) ทำให้หยุดยาวอย่างน้อย 6 วัน หลายคนจะกลับบ้านเกิด ส่ง คำอวยพรปีใหม่ ผ่าน「年賀状nengajo」หรือการ์ดปีใหม่นั่นเอง ทานอาหารญี่ปุ่นที่นิยมทานในช่วงปีใหม่ เช่น โอโซนิ (お雑煮) เป็นต้น เยี่ยมชมศาลเจ้าและวัดเพื่อขอพรในปีใหม่ ซื้อ ถุงโชคดีญี่ปุ่น (福袋) ต้อนรับปีใหม่
โกลเด้นวีค
วันหยุดนักขัตฤกษ์ติดต่อกันสามวันในต้นเดือนพฤษภาคม หลายคนสามารถลาหยุดงานต่อได้ประมาณหนึ่งสัปดาห์เมื่อรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์และวันลาพักร้อนที่ได้รับค่าจ้าง โกลเด้นวีค ประกอบด้วยวันรัฐธรรมนูญ 憲法記念日 (Kenpou Kinenbi) ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม, วันสีเขียวหรือวันพฤษชาติ みどりの日 (Midori no hi) วันที่ 4 พฤษภาคม และ วันเด็กแห่งชาติ こどもの日 (Kodomo no hi) วันที่ 5 พฤษภาคม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่: โกลเด้นวีค (Golden week) เทศกาลวันหยุดยาวของญี่ปุ่น
โอบ้ง
เทศกาลโอบ้ง (お盆) เป็นเทศกาลเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ซึ่งเชื่อกันว่าวิญญาณบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วจะกลับมาโลกภูมิมาหาลูกหลาน อาจจะเรียกได้ว่าเป็นวันสารทญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็จะกลับบ้านไปเยี่ยมครอบครัวและเตรียมตัวจัดงานเพื่อเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ เรียกได้ว่าเป็นวันรวมญาติของญี่ปุ่นเลยทีเดียว ส่วนใหญ่มักจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 16 สิงหาคมเป็นเวลา 4 วัน ซึ่งในอดีตเทศกาลโอบ้ง (お盆) จะจัดในช่วงวันที่ 13-16 กรกฎาคม ในปัจจุบันมักจะจัดช่วงกลางเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีช่วงเวลาไม่เหมือนกัน
■ 元号 (gengo) หรือ 年号 (nengo): ปีปฏิทินของญี่ปุ่น
ปีปฏิทินญี่ปุ่นเป็นอะไรที่เข้าใจยากมากสำหรับคนต่างชาติ เพราะอ้างอิงยุคสมัยตามประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เรียกว่า 「元号 gengo」หรือ「年号 nengo」(มีความหมายเหมือนกันและสามารถใช้แทนกันได้) และปีคริสต์ศักราชที่มี 4 หลัก (เช่น 2022) เรียกว่า 「西暦 seireki」เวลากรอกเอกสารในญี่ปุ่นหากคุณเห็น「西暦 seireki」หรือเพียงแค่「西」ในแบบฟอร์มตามวันที่ เช่น เมื่อกรอกวันเกิดหรือวันที่ของวันนี้ คุณสามารถเขียนปีด้วยตัวเลขปีคริสต์ศักราช 4 หลัก แต่ถ้าคุณเห็นตัวอักษรคันจิเช่น 「昭」「平」「令」ที่คุณต้องวงกลมตัวที่ใช้มันคือปี 元号 (gengo) ตัวอย่างเช่น ถ้าวันเกิดของคุณคือปีคริสต์ศักราช 1990 คุณต้องวงกลม 「平」 และเขียนเลข 2 สำหรับปีนั้น เนื่องจาก 1990 คือ 「平成2年 Heisei 2」 หรือปีที่สองของยุค Heisei ดังนั้นการอาศัยในญี่ปุ่น อย่างน้อยสิ่งสำคัญคือต้องรู้ปี 元号 (gengo) วันเกิดของคุณเองและ元号 (gengo) ปีปัจจุบันด้วย
元号 (gengo)
ปี 元号 (gengo) สัมพันธ์กับเวลาที่จักรพรรดิองค์หนึ่งปกครองญี่ปุ่น และจำนวนที่ตามมาคือปีแห่งการปกครอง ในอดีตชื่อปี 元号 (gengo) จะเปลี่ยนชื่อบ่อยขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้น ปัจจุบัน 元号 (gengo) ใหม่เริ่มต้นขึ้นเมื่อจักรพรรดิองค์ใหม่ขึ้นครองบัลลังก์ รายชื่อปี 元号 (gengo) เมื่อเทียบกับคริสต์ศักราชมีดังนี้
ปี 元号 (gengo) |
ปีคริสต์ศักราช |
明治 Meiji |
1868 - 1912 |
大正 Taisho |
1912 - 1926 |
昭和 Showa |
1926 - 1989 |
平成 Heisei |
1989 - 2019.04 |
令和 Reiwa |
2019.05~ |
■ ปฏิทินแบบดั้งเดิม
「節句 Sekku」เป็น 5 วันพิเศษในปีที่เป็นเทศกาลตามฤดูกาล เรียกว่า 五節句 (gosekku) เป็นพิเศษซึ่งเป็นประเพณีสืบทอดมาจากประเทศจีน แม้ว่ายังคงเฉลิมฉลองกันอย่างกว้างขวางในวันนี้ แต่ส่วนมากไม่ใช่วันหยุดนักขัตฤกษ์อีกต่อไปยกเว้นวันเด็กผู้ชายเพราะอยู่ในช่วงโกลเด้นวีค โดย 5 วันนี้ประกอบด้วย
-
วันที่ 1/7 หรือ 7 มกราคม เรียกว่าวัน 人日の節句 (Jinjitsu no Sekku) เป็นวันที่จะรับประทานข้าวต้มที่ใส่พืชผักของฤดูใบไม้ผลิ 7 ชนิด เพื่อผ่อนคลายกระเพาะอาหารหลังจากกินอย่างหนักหน่วงมาในช่วงปีใหม่
-
วันที่ 3/3 หรือ 3 มีนาคม เรียกว่า วัน 桃の節句 (Momo no Sekku) เป็นวันเด็กผู้หญิง ที่จะประดับตุ๊กตาผู้หญิงให้กับบุตรสาว
-
วันที่ 5/5 หรือ 5 พฤษภาคม เรียกว่า วัน 菖蒲の節句 (Tango no Sekku) หรือ วันเด็กผู้ชาย เป็นวันที่จะประดับตุ๊กตานักรบ และธงปลาคาร์ฟให้กับบุตรชาย
-
วันที่ 7/7 หรือ 7 กรกฎาคม เรียกว่า วัน 笹の節句 (Sasa no Sekku) หรือ วันทานาบาตะ (七夕) เป็นวันเทศกาลดวงดาว ที่เจ้าหญิงทอผ้าจะได้พบกับคนรักที่ทางช้างเผือก
-
วันที่ 9/9 หรือ 9 กันยายน เรียกว่า วัน 菊の節句 (Kiku no sekku) หรือวันดอกเบญจมาศ เป็นวันที่พระราชวังจะจัดพิธีชมดอกเบญจมาศ
「六曜 Rokuyo」 เป็นอีกระบบปฏิทินแบบดั้งเดิมที่ค่อนข้างไม่เป็นทางการซึ่งยังคงพบได้ในปฏิทินในปัจจุบัน คุณอาจเห็นตัวอักษรคันจิบางตัวเขียนถัดจากวันที่ในปฏิทิน คันจิ 1 ใน 6 ชนิด บ่งบอกถึงโชคลางในวันนั้น ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อได้รับอิทธิพลอย่างมากจากจีน ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากยังคงเชื่อในเรื่องนี้ อย่างน้อยก็เพื่อการวางแผนงานใหญ่ๆ มากกว่าสำหรับชีวิตประจำวัน!
-
「大安 Taian」- โชคดีที่สุด งานใหญ่เช่นงานแต่งงานการเปิดธุรกิจ ฯลฯ มักจะมีการวางแผนในวันนี้
-
「先勝 Sakimake」ซึ่งบอกเป็นว่าโชคดีในตอนเช้าและค่อย ๆ ลดลงในช่วงบ่าย
-
「先負 Sakimake」อยู่ตรงข้ามกับ 先勝 Sakimake ที่ไม่มีโชคในตอนเช้าและโชคดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปถึงช่วงบ่าย
-
「友引 Tomobiki」ตอนเช้าและตอนเย็นดี แต่ระหว่างเวลา 11:00 น. ถึง 13:00 น.นั้นไม่ดี
-
「赤口 Shakkou」เป็นวันที่โชคร้ายที่รองจาก 仏滅 (Butsumetsu) ว่ากันว่าโชคดีในระหว่างเวลา 11:00 ถึง 13:00 เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงถือเป็นวันที่ไม่เหมาะสมสำหรับการเฉลิมฉลอง
-
「仏滅 Butsumetsu」เป็นวันที่โชคร้ายที่สุด ดังนั้นผู้คนควรระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงความโชคร้าย คนที่เชื่อใน 六曜 Rokuyo จะไม่แต่งงานในวันนี้อย่างแน่นอน
■ สรุป
เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นข้อมูลปฏิทินญี่ปุ่นที่ทำให้คุณมองเห็นภาพและเข้าใจในปฏิทินญี่ปุ่นมากขึ้น และสามารถนับปฏิทินแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า 元号 (gengo) ได้เนื่องจากปฏิทินญี่ปุ่นอ้างอิงถึงประเพณีทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมากมาย ที่มาพร้อมกับวันหยุดของญี่ปุ่น และเราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณสนุกกับความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น!