คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นคืออะไร กริยาพื้นฐานต่างๆเราได้เรียนกันไปแล้วในบทความคำกริยาภาษาญี่ปุ่นระดับ N5 ในบทความนี้ยังมีอีก 225 คำกริยาที่คุณควรรู้เพิ่มเติมเพื่อเตรียมตัวสอบ JLPT N4!
สารบัญ
1. ทบทวนคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นมีอะไรบ้าง?
ทบทวนคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นมีอะไรบ้าง?
ดังที่เราได้เรียนรู้กันไปแล้วในคำกริยาภาษาญี่ปุ่นระดับ N5 คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
-
คำกริยากลุ่ม "る" (る動詞 ru-doushi) - คำกริยาที่ลงท้ายด้วย る (ru)
-
คำกริยากลุ่ม "う" (う動詞 u-doushi) - คำกริยาที่ลงท้ายด้วย う (u)
-
คำกริยากลุ่ม "する" (する動詞 suru-doushi) - คำนามที่กลายมาเป็นคำกริยาเมื่อเติมคำลงท้ายด้วย する (suru)
และมีคำกริยาพิเศษที่ต้องจำอยู่สองตัวคือ 行く(iku) และ 来る (kuru) เมื่อเรียนรู้คำกริยาภาษาญี่ปุ่นมากขึ้น คุณจะสามารถสนทนาได้ยาวขึ้นและขยายงานเขียนของคุณได้อย่างละเอียดมากขึ้นกว่าระดับ N5 คุณจะต้องจำตัวอักษรคันให้มากขึ้น บทความนี้ได้รวบรวมคำกริยาทั้งหมด 225 คำที่คุณจำเป็นต้องรู้ในระดับ N4 มาให้แล้ว!
บทความแนะนำ
คำกริยากลุ่ม "る"
คำกริยากลุ่ม "る" (る動詞 ru-doushi) เป็นคำกริยาที่ลงท้ายด้วย る (ru) การผันคำกริยากลุ่ม "る" นั้นง่ายมากแค่เพียงเปลี่ยนคำว่า る (ru) ด้านท้ายเป็น ます (masu) ในรูปแบบสุภาพ แต่อย่าลืมที่ได้เรียนไปจากบทความเรื่องคำกริยา N5 คำกริยาที่ลงท้ายด้วย る (ru) ไม่จำเป็นต้องเป็นคำกริยากลุ่ม "る" เสมอไป อาจเป็นคำกริยากลุ่ม "う" ก็ได้ เช่นคำว่า 切る (kiru) แปลว่าตัด ที่เป็นคำกริยากลุ่ม "う"
ในระดับ N4 จะมีการแนะนำคำกริยา2แบบที่เรียกว่า สกรรมกริยา 他動詞 (ta-doushi) และอกรรมกริยา 自動詞 (ji-doushi) การรู้ความแตกต่างระหว่างคำเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ วิธีที่ง่ายที่สุดในการแยกความแตกต่างระหว่างสกรรมกริยาและอกรรมกริยาคือ สกรรมกริยาคือการที่คุณหรือใคร/สิ่งของกำลังทำบางสิ่ง ในขณะที่อกรรมกริยาคือสถานะของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นหรือได้เกิดขึ้นแล้ว โดยทั่วไปคำกริยากลุ่ม "る" เป็นคำกริยาสกรรมกริยา แต่ก็ข้อยกเว้น
-
他動詞 (ta-doushi) : สกรรมกริยาคือ กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ เป็นกริยาที่มีเจตนาและมีผู้กระทำกริยา (ส่วนมากจะใช้คำช่วย を)
-
自動詞 (ji-doushi) : อกรรมกริยาคือ กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ เป็นกริยาที่ไม่มีเจตนา และเกิดขึ้นเองโดยไม่มีผู้กระทำ (ส่วนมากจะใช้คำช่วย が)
ตัวอย่างเช่น “開ける(akeru) - เปิด” เป็นกริยาสกรรมกริยาและคำกริยากลุ่ม "る" ในขณะที่ “開く(aku) -เปิด” เป็นอกรรมกริยาและคำกริยากลุ่ม "う" ดังนั้น “ドアを開けて(doa wo akete) - เปิดประตู” จึงแตกต่างจาก “ドアが開いている(doa ga aiteiru) - ประตูเปิดอยู่” อย่างมาก
ตารางด้านล่างเป็นวิธีเกี่ยวกับการผันคำกริยากลุ่ม "る"
คำกริยากลุ่ม "る" น่ารู้ JLPT ระดับ N4
นี่คือรายการคำกริยากลุ่ม "る" จำนวน 57 คำที่มักจะปรากฏในข้อสอบ JLPT ระดับ N4
หมายเหตุ: ตัวอักษรคันจิที่คุณจำเป็นต้องรู้ในระดับ N4 เป็นตัวอักษรแบบหนา
คำกริยา |
คันจิ |
ความหมาย |
あつめる atsumeru |
集める |
เก็บของ |
ふえる fueru |
増える |
เพิ่มขึ้น |
はじめる hajimeru |
始める |
เริ่มต้น |
ひえる hieru |
冷える |
แช่เย็น, ทำให้เย็น |
ほめる homeru |
褒める |
ชื่นชม |
いじめる ijimeru |
苛める |
กลั่นแกล้ง |
いきる ikiru |
生きる |
มีชีวิตอยู่ |
かえる kaeru |
変える |
เปลี่ยน |
かんがえる kangaeru |
考える |
คิด,ทบทวน |
かたづける katazukeru |
片付ける |
เก็บกวาด |
きこえる kikoeru |
聞こえる |
ได้ยิน |
きめる kimeru |
決める |
ตัดสินใจ |
こわれる kowareru |
壊れる |
แตกหัก, เสียหาย |
くらべる kuraberu |
比べる |
เปรียบเทียบ |
くれる kureru |
暮れる |
มืด |
まちがえる machigaeru |
間違える |
ทำผิดพลาด |
まける makeru |
負ける |
พ่ายแพ้ |
みえる mieru |
見える |
มองเห็น |
みつける mitsukeru |
見つける |
ค้นพบ |
迎える mukaeru |
迎える |
ไปรับ |
なげる nageru |
投げる |
หลีกหนี |
なれる nareru |
慣れる |
คุ้นชิน |
にげる nigeru |
逃げる |
หนี |
にる niru |
似る |
คล้าย,เหมือน |
のりかえる norikaeru |
乗り換える |
เปลี่ยนขบวน (รถไฟ,บัส ฯลฯ) , สลับ, เปลี่ยน |
ぬれる nureru |
濡れる |
เปียก |
おちる ochiru |
落ちる |
ตก, ล้ม, ตก (ดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์) |
おくれる okureru |
遅れる |
สาย |
おれる oreru |
折れる |
แตก, หัก |
さげる sageru |
下げる |
ลดลง |
さしあげる sashiageru |
差し上げる |
ให้, เสนอ |
しらべる shiraberu |
調べる |
ตรวจสอบ |
しらせる shiraseru |
知らせる |
แจ้งให้ทราบ |
しょうじる shoujiru |
生じる |
ผลิต |
そだてる sodateru |
育てる |
เลี้ยงดู |
すてる suteru |
捨てる |
ทิ้ง |
たおれる taoreru |
倒れる |
ล้ม |
たりる tariru |
足りる |
เพียงพอ |
たてる tateru |
建てる |
สร้าง |
たずねる tazuneru |
訪ねる |
เยี่ยมชม |
たずねる tazuneru |
尋ねる |
สอบถาม |
とどける todokeru |
届ける |
ส่ง, ส่งถึง |
とめる tomeru |
止める |
หยุด, ปิด |
とりかえる torikaeru |
取り替える |
เปลี่ยน |
つづける tsuzukeru |
続ける |
ดำเนินการต่อ |
つかまえる tsukamaeru |
捕まえる |
จับกุม |
つける tsukeru |
漬ける |
จิ้ม, แช่, ดอง |
つれる tsureru |
連れる |
ไปส่ง |
つたえる tsutaeru |
伝える |
รายงาน, บอกต่อ |
うえる ueru |
植える |
ปลูก |
うける ukeru |
受ける |
เข้ารับ (การสอบ, การผ่าตัด) |
わかれる wakareru |
別れる |
แยก, เลิก |
われる wareru |
割れる |
ทำลาย, แตกหัก |
やける yakeru |
焼ける |
เผาไหม้, ย่าง |
やせる yaseru |
瘦せる |
ผอมลง, น้ำหนักลด |
よごれる yogoreru |
汚れる |
สกปรก |
ゆれる yureru |
揺れる |
สั่น, แกว่ง |
คำกริยากลุ่ม "う"
คำกริยากลุ่ม "う" (う動詞 u-doushi) เป็นคำกริยาที่ลงท้ายด้วย う (u) เป็นกลุ่มคำกริยาที่ซับซ้อนที่สุดในการผัน เนื่องจากคำกริยากลุ่ม "う" มีกฎมากมายที่ต้องปฏิบัติตาม อีกส่วนที่ยากเกี่ยวกับคำกริยากลุ่ม "う" คือความสับสนกับกริยากลุ่ม "る"
โดยทั่วไป กริยาที่ลงท้ายด้วย "る" (ru) คือกริยากลุ่ม "る" แต่ก็จะมีข้อยกเว้นที่จะจัดเป็นคำกริยากลุ่ม "う" ซึ่งยากมากในการระบุว่าเป็นคำกริยาประเภทใดกันแน่ ที่ทำได้คือต้องพยายามจดจำคำเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด
ตัวอย่างเช่น 怒る (okoru) แปลว่า โกรธ เป็นคำกริยากลุ่ม "う" เมื่อผันเป็นรูปกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันจะเป็น “怒っている (okotteiru) - กำลังโกรธ ตามกฎการผันกริยากลุ่ม "う"
คำกริยาสกรรมกริยาและอกรรมกริยาถูกแยกออกเป็นคำกริยากลุ่ม "る" และ "う" โดยคำกริยากลุ่ม "う" มักจะเป็นอกรรมกริยา แต่ก็มีข้อยกเว้นเช่น 折る (oru) ที่แปลว่า หัก เป็นสกรรมกริยา ส่วน 折れる (oreru) ที่แปลว่า หักเช่นกันนั้นเป็นอกรรมกริยาและเป็นคำกริยากลุ่ม "る"
ตัวอย่าง 私は枝を折った (watashi wa eda wo otta) ที่แปลว่าฉันหักกิ่งไม้ แตกต่างจาก 枝が折れた (eda ga kaze de oreta) แปลว่ากิ่งไม้หัก
คำกริยากลุ่ม "う" จะออกเป็น 3 กลุ่มตามการลงท้ายสำหรับรูปแบบอดีต (た ta) และรูปแบบที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน (て te) ดังนี้:
-
กลุ่มที่ 1 : う (u), つ (tsu), る (ru)
-
กลุ่มที่ 2 : く(ku), ぐ (gu), す (su)
-
กลุ่มที่ 3 : む (mu), ぶ (bu), ぬ (nu)
ตารางด้านล่างเป็นวิธีเกี่ยวกับการผันคำกริยากลุ่ม "う" เป็นรูปอดีต
เมื่อสามารถผันคำกริยากลุ่ม "う" เป็นรูปแบบอดีตได้แล้ว การที่จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันก็ง่ายมาก เพียงแค่เปลี่ยนคำลงท้าย た (ta) เป็น て (te) หรือ だ (da) เป็น で (de) เท่านั้นเอง
ตารางด้านล่างเป็นวิธีเกี่ยวกับการผันคำกริยากลุ่ม "う" เป็นรูปแบบกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
คำกริยากลุ่ม "う" น่ารู้ JLPT ระดับ N4
นี่คือรายการคำกริยากลุ่ม "う" จำนวน 87 คำที่มักจะปรากฏในข้อสอบ JLPT ระดับ N4
หมายเหตุ: ตัวอักษรคันจิที่คุณจำเป็นต้องรู้ในระดับ N4 เป็นตัวอักษรแบบหนา
คำกริยา |
คันจิ |
ความหมาย |
あがる agaru |
上がる |
เพิ่มขึ้น, สูงขึ้น |
あつまる atsumaru |
集まる |
สะสม, รวบรวม |
あやまる ayamaru |
謝る |
ขอโทษ |
えらぶ erabu |
選ぶ |
เลือก |
ふむ fumu |
踏む |
เหยียบ |
ふりだす furidasu |
降り出す |
ฝน (หิมะ) เริ่มตก |
ふとる futoru |
太る |
อ้วน, น้ำหนักขึ้น |
がんばる ganbaru |
頑張る |
ทำให้ดีที่สุด |
はこぶ hakobu |
運ぶ |
ขนย้าย |
はらう harau |
払う |
จ่ายเงิน |
へる heru |
減る |
ลดลง (ปริมาณ, ขนาด) |
ひかる hikaru |
光る |
เปล่งประกาย |
ひきだす hikidasu |
引き出す |
ดึง, ถอน (เงิน) |
ひっこす hikkosu |
引っ越す |
ย้ายบ้าน |
ひらく hiraku |
開く |
เปิด |
ひろう hirou |
拾う |
หยิบ |
いのる inoru |
祈る |
อธิษฐาน |
いそぐ isogu |
急ぐ |
รีบเร่ง |
かまう kamau |
構う |
เป็นห่วง |
かむ kamu |
噛む |
กัด |
かつ katsu |
勝つ |
ชนะ |
かわく kawaku |
乾く |
แห้ง |
かわる kawaru |
変わる |
เปลี่ยนแปลง |
かよう kayou |
通う |
ไป (โรงเรียน ที่ทำงาน ฯลฯ), เดินทาง |
かざる kazaru |
飾る |
ตกแต่ง |
きまる kimaru |
決まる |
ตัดสินใจ |
こむ komu |
込む |
คนเยอะ, พลุกพล่าน |
こわす kowasu |
壊す |
ทำลาย, แตกหัก |
もらう morau |
貰う |
ได้รับ |
まいる mairu |
参る |
ไป,มา (สุภาพ) |
まにあう maniau |
間に合う |
ทันเวลา |
まわる mawaru |
回る |
ไปรอบๆ |
みつかる mitsukaru |
見つかる |
พบ, ค้นพบ |
もどる modoru |
戻る |
ย้อนกลับ |
むかう mukau |
向かう |
กำลังไป |
なく naku |
泣く |
ร้องไห้ |
なくなる nakunaru |
無くなる |
ทำหาย |
なくなる nakunaru |
亡くなる |
เสียชีวิต |
なおる naoru |
直る |
ซ่อมแซม, ได้รับการแก้ไข |
なおる naoru |
治る |
ได้รับการรักษาจนหาย |
なる naru |
鳴る |
เสียงร้อง |
ねむる nemuru |
眠る |
นอน |
のこる nokoru |
残る |
เหลือ |
ぬる nuru |
塗る |
ทา (สี) |
ぬすむ nusumu |
盗む |
ขโมย |
おどろく odoroku |
驚く |
ประหลาดใจ |
おどる odoru |
踊る |
เต้นรำ |
おこなう okonau |
行う |
ทำ, ดำเนินการ |
おこる okoru |
怒る |
โกรธ |
おこす okosu |
起こす |
ตื่นนอน |
おくる okuru |
送る |
ส่ง |
おもいだす omoidasu |
思い出す |
จำได้ |
おもう omou |
思う |
คิดว่า |
おる oru |
折る |
ทำลาย, พับ |
おっしゃる ossharu |
仰る |
พูด (สุภาพ) |
おとす otosu |
落とす |
ทำตกหล่น |
さがる sagaru |
下がる |
ต่ำลง, ลดลง |
さがす sagasu |
探す |
ตามหา, ค้นหา |
さそう sasou |
誘う |
ชักชวน |
さわぐ sawagu |
騒ぐ |
เอะอะ |
さわる sawaru |
触る |
จับ, สัมผัส |
しかる shikaru |
𠮟る |
ด่าว่า |
すべる suberu |
滑る |
ลื่น |
すく suku |
空く |
ลบ, ทำให้ว่าง |
すむ sumu |
済む |
จบ |
すすむ susumu |
進む |
ไปข้างหน้า |
たのしむ tanoshimu |
楽しむ |
ด้วยความสนุกสนาน |
たす tasu |
足す |
เพิ่ม |
てつだう tetsudau |
手伝う |
ช่วยเหลือ |
とまる tomaru |
泊まる |
ค้างคืน (โรงแรม ฯลฯ) |
とおる tooru |
通る |
ผ่าน |
つづく tsuzuku |
続く |
ดำเนินการต่อ, ตอนต่อไป |
つく tsuku |
付く |
แนบติด, เชื่อมต่อ, ปฏิบัติตาม |
つる tsuru |
釣る |
ตกปลา |
つつむ tsutsumu |
包む |
ห่อ |
うつ utsu |
打つ |
ตี |
うつる utsuru |
移る |
เคลื่อนไหว |
うつす utsusu |
写す |
ทำสำเนา, ทำซ้ำ |
わかす wakasu |
沸かす |
ต้ม |
わく waku |
沸く |
เดือด (น้ำ) |
わらう warau |
笑う |
หัวเราะ, ยิ้ม |
やく yaku |
焼く |
ย่าง, อบ |
やくにたつ yakunitatsu |
役に立つ |
เป็นประโยชน์ |
やむ yamu |
止む |
หยุด, ยุติ, จบแล้ว |
やくす yakusu |
訳す |
แปล, ตีความ |
よろこぶ yorokobu |
喜ぶ |
ยินดี |
よる yoru |
寄る |
แวะ |
คำกริยากลุ่ม "する"
คำกริยากลุ่ม "する" หรือする動詞 (suru-doushi) ในภาษาญี่ปุ่น เป็นคำนามที่กลายมาเป็นคำกริยาเมื่อเติมคำลงท้ายด้วย する (suru) ซึ่งตัวของ する (suru) เองเป็นคำแสดงกิริยาที่หมายถึงการกระทำ และเมื่อนำไปวางหลังคำนามจะทำให้คำนั้นเป็นคำกริยา
ตารางด้านล่างเป็นวิธีเกี่ยวกับการผันคำกริยากลุ่ม "する" ง่ายๆ
แต่จะมีคำกริยาพิเศษที่ต้องจำคือ 来る (kuru) แปลว่า มา ที่มีการผันเป็นกรณีพิเศษ ดังตารางด้านล่างเป็นวิธีเกี่ยวกับการผันคำกริยา 来る
และคำว่า 行く(iku) แปลว่า ไป เป็นคำกริยากลุ่ม "う" ที่เป็นไปตามกฎการผันคำกริยากลุ่ม "う" แต่จะมีการผันแบบพิเศษเมื่ออยู่ในรูปแบบอดีตและรูปแบบที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ตามตารางด้านล่าง
คำกริยากลุ่ม "する" น่ารู้ JLPT ระดับ N4
นี่คือรายการคำกริยากลุ่ม "する" จำนวน 71 คำที่มักจะปรากฏในข้อสอบ JLPT ระดับ N4
หมายเหตุ: ตัวอักษรคันจิที่คุณจำเป็นต้องรู้ในระดับ N4 เป็นตัวอักษรแบบหนา
คำกริยา |
คันจิ |
ความหมาย |
あいさつ aisatsu |
挨拶 |
ทักทาย |
あんない annai |
案内 |
แนะนำ, นำทาง |
あんしん anshin |
安心 |
รู้สึกสบายใจ |
アルバイト arubaito |
ทำงานพิเศษ |
|
びっくり bikkuri |
ตกใจ |
|
ぼうえき boueki |
貿易 |
ซื้อขาย |
チェック check |
ตรวจสอบ |
|
ちゅうい chuui |
注意 |
ข้อควรระวัง |
ちゅうしゃ chuusha |
注射 |
ฉีดยา |
だんぼう danbou |
暖房 |
ทำความร้อน |
ダイエット daietto |
ลดน้ำหนัก |
|
えんりょ enryo |
遠慮 |
เกรงใจ |
ファックス fakkusu |
ส่งแฟกซ์ |
|
ふくしゅう fukushuu |
復習 |
ทบทวน (บทเรียน, ข้อเสนอ) |
げんいん genin |
原因 |
สาเหตุ |
げしゅく geshuku |
下宿 |
พักที่ห้องเช่า |
ごちそう gochisou |
ご馳走 |
เลี้ยงข้าว |
はいけん haiken |
拝見 |
ไปดู |
はなみ hanami |
花見 |
ชมดอกไม้ (ซากุระ) |
はんたい hantai |
反対 |
คัดค้าน |
はつおん hatsuon |
発音 |
การออกเสียง |
へんじ henji |
返事 |
ตอบกลับ |
ほんやく honyaku |
翻訳 |
แปล |
ほうそう housou |
放送 |
ออกอากาศ |
いけん iken |
意見 |
ความคิดเห็น |
じゅんび jyunbi |
準備 |
เตรียมตัว |
かいぎ kaigi |
会議 |
ประชุม |
かいわ kaiwa |
会話 |
สนทนา |
かんけい kankei |
関係 |
ความสัมพันธ์ |
けが kega |
怪我 |
บาดเจ็บ |
けいかく keikaku |
計画 |
วางแผน |
けいけん keiken |
経験 |
ประสบการณ์ |
けんぶつ kenbutsu |
見物 |
เที่ยวชมสถานที่ |
けんか kenka |
喧嘩 |
ทะเลาะ |
けんきゅう kenkyuu |
研究 |
วิจัย |
こしょう koshou |
故障 |
ผิดปกติ, ขัดขวาง |
こうぎ kougi |
講義 |
การบรรยาย |
きょういく kyouiku |
教育 |
การศึกษา |
きょうそう kyousou |
競争 |
การแข่งขัน |
きゅうこう kyuukou |
急行 |
ด่วน |
むり muri |
無理 |
เป็นไปไม่ได้,ไม่สมเหตุสมผล |
ねぼう nebou |
寝坊 |
ตื่นสาย |
にゅうがく nyuugaku |
入学 |
เข้าเรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย |
にゅういん nyuuin |
入院 |
เข้าโรงพยาบาล |
おいわい oiwai |
お祝い |
แสดงความยินดี |
れいぼう reibou |
冷房 |
ทำความเย็น |
れんらく renraku |
連絡 |
ติดต่อ |
りよう riyou |
利用 |
ใช้งาน |
るす rusu |
留守 |
ไม่อยู่ |
せいかつ seikatsu |
生活 |
ใช้ชีวิต |
せいさん seisan |
生産 |
การผลิต |
せんそう sensou |
戦争 |
สงคราม |
せつめい setsumei |
説明 |
อธิบาย |
しあい shiai |
試合 |
การแข่งขัน |
しっぱい shippai |
失敗 |
ผิดพลาด |
しんぱい shinpai |
心配 |
กังวล |
しょうかい shoukai |
紹介 |
แนะนำ |
しゅっぱつ shuppatsu |
出発 |
ออกเดินทาง |
そつぎょう sotsugyou |
卒業 |
จบการศึกษา |
そうだん soudan |
相談 |
ปรึกษา |
すいえい suiei |
水泳 |
ว่ายน้ำ |
たいいん taiin |
退院 |
ออกจากโรงพยาบาล |
たんじょう tanjou |
誕生 |
การเกิด |
うんどう undou |
運動 |
ออกกำลังกาย |
うんてん unten |
運転 |
ขับ (ยานพาหนะ) |
やく yaku |
訳 |
แปล |
やくそく yakusoku |
約束 |
สัญญา |
よしゅう yoshuu |
予習 |
เตรียมการสอน |
よてい yotei |
予定 |
กำหนดการ |
ようい youi |
用意 |
จัดเตรียม |
よやく yoyaku |
予約 |
จอง |