ภาษาญี่ปุ่นน่ารู้จากอนิเมะ: ไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทาน

ไฮคิว!!คู่ตบฟ้าประทานเป็นอนิเมะที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล ชื่อภาษาญี่ปุ่นคือ ハイキュー!!และชื่อไฮคิวมาจากภาษาญี่ปุ่นคำว่า 排球(はいきゅう)ที่แปลว่าวอลเลย์บอล อีกด้วยโดยในเรื่องมีตัวเอกคือ โชโย ฮินาตะ หนุ่มน้อยตัวเล็กที่รักการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลมากโดยไม่สนอุปสรรคเรื่องความสูงของตัวเอง ฮินาตะไม่เคยลดละความตั้งใจของตัวเองและเคยลงสนามแข่งแรกกับ โทบิโอะ คาเงยามะ นักกีฬาที่มีพรสวรรค์ เก่งเพอร์เฟ็คไปทุกอย่าง แน่นอนว่าการแข่งขันครั้งแรกนั้นฮินาตะก็ต้องพ่ายแพ้ต่อคาเงยามะ หลังจากนั้นฮินาตะก็ฝึกซ้อมอย่างหนักโดยมีจุดมุ่งหมายว่าจะต้องชนะคาเงยามะให้ได้ แต่สุดท้ายแล้วฮินาตะก็ต้องมาอยู่ทีมเดียวกันกับคาเงยามะที่โรงเรียนมัธยมปลายคาราสึโนะ ต้องร่วมมือกันในการแข่งขันเพื่อจะเป็นแชมป์การแข่งขันวอลเลย์บอลระดับประเทศ เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต้องไปติดตามชมกันในอนิเมะเรื่อง ไฮคิว!!คู่ตบฟ้าประทาน และบทความนี้จะนำเสนอภาษาญี่ปุ่นน่ารู้จากอนิเมะเรื่องนี้

คำศัพท์น่ารู้

  • バレーボール
  • 全国大会
  • 合宿
  • 練習試合 
  • シャッフル 
  • 攻撃 
  • レベルアップ 
  • 開幕 
  • アクシデント 
  • マッチポイント 

■ バレーボール

กีฬาวอลเลย์บอลในภาษาญี่ปุ่นคือ バレーボール (Barēbōru) หรือบางทีก็เรื่องย่อๆว่า バレー(Barē) แค่นั้น ไม่ได้หมายถึงการเต้นบัลเลต์แต่อย่างใด กีฬาวอลเลย์บอลในญี่ปุ่นถือเป็นอีกหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากโดยจะเห็นได้จากโอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นที่ผ่านมา ถึงแม้จะไม่ได้เข้ารอบชิงชนะเลิศแต่ผลงานของญี่ปุ่นก็ทำได้น่าประทับใจเลยทีเดียว โดยเฉพาะวอลเลย์บอลชายญี่ปุ่นเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย ซึ่งมีนักกีฬาขวัญใจสาวๆชาวไทยอย่าง ยูจิ นิชิดะ, รัน ทาคาฮาชิ และ ยูกิ อิชิกาวะผู้เล่นที่มีทักษะการเล่นที่ดีเยี่ยมของญี่ปุ่นจนสโมสรวอลเลย์บอลประเทศอิตาลีจับเซ็นสัญญาเพื่อเข้าร่วมสโมสร

■ 全国大会

全国大会 (Zenkoku taikai) หมายถึง การแข่งขันระดับประเทศ ในเรื่องนี้ก็คือศึกวอลเลย์บอลระดับประเทศ การชิงแชมป์กันของนักเรียนจากมัธยมปลายทั่วประเทศ หลังจากการต่อสู้ที่ดุเดือดสโมสรวอลเลย์บอลโรงเรียนมัธยมปลายคาราสึโนะเอาชนะทุกทีมได้ทำให้ความฝันในการเข้าสู่การแข่งขันระดับประเทศเป็นความจริง ทั้งฮินาตะและคาเงยามะ ตลอดจนทีมวอลเลย์บอลโรงเรียนมัธยมปลายคาราสึโนะที่ใช้การแข่งขันระดับประเทศเป็นเป้าหมาย ได้ทำสำเร็จแล้ว!

■ 合宿

合宿 (Gasshuku) หมายถึง การเข้าค่ายฝึกอบรม จะเห็นได้จากในอนิเมะ ที่กจะมีการจัดการเข้าค่ายฝึกซ้อมนักกีฬาก่อนการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับประเทศ ซึ่งในตอนแรก โชโย ฮินาตะที่อยู่ปี 1 ได้เข้าร่วมค่ายฝึกซ้อมนักกีฬาในฐานะคนเก็บบอลเท่านั้น แต่ด้วยความตั้งใจและพยายามในที่สุดก็ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในนักกีฬาจากโรงเรียนมัธยมปลายคาราสึโนะ

■ 練習試合 

練習試合 (Renshūshiai) หมายถึง การฝึกซ้อมแข่งขันก่อนการแข่งขันจริง โดยในตอนที่ 5 การฝึกซ้อมแข่งขันก่อนการแข่งขันจริงของทีมชิราโทริซาวะปี 3 และในขณะเดียวกัน ที่ค่ายฝึกเยาวชนคาเกยามะได้มีการจัดเกมฝึกซ้อมโดยสับเปลี่ยนตำแหน่ง ค่ายฝึกซ้อมคัดเลือกมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 1 ของจังหวัดมิยากิและค่ายฝึกอบรม All Japan Youth ได้มาถึงวันสุดท้ายแล้ว

■ シャッフル

シャッフル (Shaffuru) หมายถึง การสับเปลี่ยนตำแหน่ง เห็นได้จากในตอนที่ 5 การฝึกซ้อมแข่งขันก่อนการแข่งขันที่ค่ายฝึกเยาวชน คาเงยามะ ได้มีการจัดเกมฝึกซ้อมโดยสับเปลี่ยนตำแหน่งขึ่น

■ 攻撃 

攻撃 (Kōgeki) หมายความว่า จู่โจม การโจมตี โดยในตอนที่ 7 การฝึกซ้อมแข่งขันก่อนการแข่งขันจริงระหว่างโรงเรียนมัธยมปลายคาราสึโนะกับโรงเรียนเทคนิคดาเตะโค ที่มีสกิลการบล็อกลูกระดับสูงของจังหวัด คาเงยามะก็สู้โจมตีแบบสุดตัว พอฮินาตะได้เห็นเช่นนั้นก็เข้าร่วมการโจมตีด้วยเช่นกัน

■ レベルアップ 

レベルアップ (Reberuappu) หมายถึง การยกระดับ ก่อนที่การแข่งขันจริงในฤดูใบไม้ผลิจะเริ่มต้น และการฝึกซ้อมแข่งขันก่อนการแข่งขันจริงระหว่างโรงเรียนมัธยมปลายคาราสึโนะกับโรงเรียนเทคนิคดาเตะโค กำลังจะสิ้นสุดลง สมาชิกชมรมวอลเลย์บอลโรงเรียนมัธยมปลายคาราสึโนะที่พยายามยกระดับตัวเอง จะสามารถพัฒนาต่อไปได้ขนาดไหน? มีการเรียนรู้ การใช้อาวุธใหม่ ๆ ในการต่อกรกับคู่ต่อสู้หรือไม่?ต้องติดตามชมต่อในตอนที่ 8

■ 開幕 

開幕 (Kaimaku) หมายความว่า การเริ่มต้นการแข่งขัน ในตอนที่ 10 การแข่งขันวอลเลย์บอลระดับชาติของโรงเรียนมัธยมปลายฤดูใบไม้ผลิได้เริ่มขึ้นแล้ว

■ アクシデント 

アクシデント (Akushidento) แปลงมาจากภาษาอังกฤษคำว่า accident หมายความว่า อุบัติเหตุ โดยในการเริ่มต้นการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับชาติของโรงเรียนมัธยมปลายฤดูใบไม้ผลินั้น เกิดอุบัติเหตุที่รองเท้าของฮินาตะหายไปก่อนการแข่งขันนัดแรก สมาชิกที่ร้อนใจกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ชิมิสึ ผู้จัดการ จะทำอย่างไร

■ マッチポイント 

マッチポイント (Matchi pointo) แปลงมาจากภาษาอังกฤษคำว่า Match point หมายความว่า คะแนนสุดท้ายที่ผู้แข่งขันต้องการเพื่อได้ชัยชนะ มักใช้กับกีฬาประเภทนับแต้ม เช่น เทนนิส แบตมินตัน และ วอลเลย์บอล เป็นต้น 

ไฮคิว!!คู่ตบฟ้าประทาน มาจากมังงะผลงานของ ฮารุอิจิ ฟุรุดาเตะ ตีพิมพ์ในนิตยสาร โชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2012 และได้เริ่มมาทำเป็นอนิเมะซีซั่นแรกในปี 2014 และเรื่อยมาจนถึงซีซั่นห้า นอกจากนี้ยังได้ทำเป็นภาพยนตร์อนิเมะออกฉายตามโรงภาพยนตร์ปี 2019-2020 และยังมีละครเวทีในปี 2020 อีกด้วย ต้องรอดูต่อไปว่าจะมีภาพยนตร์เวอร์ชั่นคนแสดงหรือไม่

ตัวอย่างไฮคิว!!คู่ตบฟ้าประทานภาพยนตร์อนิเมะ

 

นักเขียน

WeXpats
นำเสนอบทความที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำงาน และการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น รวมไปจนถึงบทความแนะนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บทความที่เกี่ยวข้อง 関連記事

บทความพิเศษ 特集

บทความยอดนิยม 人気記事

โซเชียลมีเดีย ソーシャルメディア

นำเสนอข้อมูลล่าสุดในญี่ปุ่นใน 9 ภาษา!

  • English
  • 한국어
  • Tiếng Việt
  • မြန်မာဘာသာစကား
  • Bahasa Indonesia
  • 中文 (繁體)
  • Español
  • Português
  • ภาษาไทย
TOP/ การเรียนภาษาญี่ปุ่น/ สนุกสนานกับภาษาญี่ปุ่น/ ภาษาญี่ปุ่นน่ารู้จากอนิเมะ: ไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทาน

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของเว็บไซต์ของเรา โปรดคลิก "ยอมรับ" เพื่อยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราโปรดคลิกที่นี่

นโยบายการใช้คุกกี้