【โอซาก้า】เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ทาโกะยากิ (たこ焼き/ Takoyaki) อาหารขึ้นชื่อของโอซาก้า

ถ้าเดินทางมาแถบคันไซ (関西 / Kansai) ทุกคนคงต้องเคยแวะมาที่โอซาก้า (大阪 / Osaka) และต้องได้พบเจอกับอาหารขึ้นชื่อที่เรียกว่า “ทาโกะยากิ” หรือที่คนไทยเรียกกันติดปากว่า “ขนมครกญี่ปุ่น” ถ้าพูดถึงขนมครก หลายคนคงจะนึกถึงขนมไทยรูปทรงครึ่งวงกลม วิธีทำจากแป้งซึ่งหยอดลงในกระทะที่มีลักษณะเป็นหลุม แล้วราดตามด้วยน้ำกะทิ จากนั้นก็โรยหน้าด้วยผักชีบ้าง ข้าวโพดบ้าง เผือกบ้าง หรือฟักทองบ้าง ตามที่แต่ละร้านจะสรรหามาได้ รสชาติหวานมัน หยิบกินกันเพลิน ๆ ไม่หวั่นแม้ความอ้วนถามหา แต่คนละเรื่องกับ “ทาโกะยากิ” หรือ “ขนมครกญี่ปุ่น” เลย ถึงแม้วิธีการทำทาโกะยากิจะทำจากการหยอดแป้งลงกระทะเหมือนกัน แต่รูปร่างที่ออกมาจะเป็นทรงกลมและก็ยังไม่ใช่ขนมหวาน แต่เป็นของคาวอีกด้วย

■ความเป็นมาของทาโกะยากิ

ว่ากันว่าเริ่มมีการทำทาโกะยากิกันครั้งแรกเมื่อปี 1935 ที่เมืองโอซาก้า โดยพ่อค้าอาหารริมถนนชาวญี่ปุ่นชื่อ เอ็นโด โทเมกิจิ (Endō Tomekichi) นำแป้งทำขนมสำเร็จรูปจากต่างประเทศ มาผสมรวมกับปลาหมึกยักษ์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากในโอซาก้า วิธีการทำนี้ดัดแปลงมาจากขนมที่มีชื่อว่า “อากาชิยากิ” (明石焼き / Akashiyaki) ซึ่งเป็นขนมดั้งเดิมของเมืองอากาชิ จังหวัดเฮียวโงะ ทำจากแป้งและไข่ สอดไส้ปลาหมึก แล้วนำมาทานกับซุปดาชิ (น้ำซุปที่ทำจากปลาแห้ง) รูปร่างกลมๆหน้าตาก็จะดูคล้าย ๆ กัน เริ่มวางขายในโอซาก้า และ ทาโกะยากิได้รับความนิยมเป็นอันมากในคันไซ แล้วแพร่ไปคันโต ก่อนจะไปสู่ท้องที่อื่น ๆ ตามลำดับ ตอนนี้ยังเป็นที่นิยมภายนอกประเทศญี่ปุ่นด้วย สำหรับในญี่ปุ่นเอง เดิมทาโกะยากิมีขายทั่วไปตามรถเข็นริมถนน ที่เรียก "ยาตาอิ" (屋台 / yatai) ปัจจุบันมีวางขายในภัตตาคาร ห้างสรรพสินค้า และร้านซื้อสะดวกอีกด้วย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังผลิตทาโกะยากิแช่แข็งส่งออกไปขายนอกประเทศเป็นอันมาก และทาโกะยากิกลายเป็นอาหารประจำถิ่นโอซาก้าและคันไซ

■วิธีทำทาโกะยากิ

ทาโกะยากิ (たこ焼き Takoyaki) มาจากการนำคำ 2 คำมารวมกันคือ たこ (Tako) ที่แปลว่า ปลาหมึกยักษ์ กับ 焼き (Yaki) ที่แปลว่า ย่าง เผา ปิ้ง วิธีทำค่อนข้างจะคล้ายกับการทำขนมครก คนไทยก็เลยเรียกว่า “ขนมครกญี่ปุ่น” นั่นเอง ส่วนวิธีทำทาโกะยากิก็ไม่ได้แตกต่างจากขนมอากาชิเท่าไร เริ่มจากตีแป้ง ไข่ และน้ำให้ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำไปหยอดลงในกระทะหลุมที่ทาน้ำมันเตรียมไว้ให้เต็มหลุม แล้วใส่ปลาหมึกหั่น ต้นหอมซอย และขิงดองลงไป รอจนด้านล่างสุกแล้วใช้ไม้ปลายแหลมพลิกกลับด้าน ซึ่งทาโกะยากิของมือใหม่หัดทำแต่ละคนจะออกมากลมไม่กลม หรือจะมาแค่ครึ่งวงกลมก็อยู่ที่ฝีมือของแต่ละคน รอจนสุกทั่วกันทั้งลูกค่อยนำขึ้นใส่จาน ราดด้วยซอสทาโกะยากิ ราดมายองเนสเพิ่มลงไปด้วย แล้วแต่คนชอบ แล้วโรยหน้าด้วยผงปลาแห้ง(鰹節/katsuobushi) กับสาหร่ายผง(青のり/aonori)ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

■รสชาติทางเหนือต่างจากทางใต้

แม้แต่ที่ร้านทาโกะยากิร้านเดียวกันในโอซาก้ารสชาติก็เปลี่ยนจาก "ไฮโซ" เป็น "แบบบ้านๆ" เมื่อคุณเดินทางจากเหนือลงใต้ ตัวอย่างเช่นร้านค้าสาขาแรกของ "Aizuya" ซึ่งริเริ่มทาโกะยากิคือ Tamade ใน Nishinari Ward กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือทางตอนใต้ แม้ว่าจะเป็นร้านอาหารชื่อดังที่ได้รับรางวัล Michelin Guide Bib Gourmand โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์แบบบ้านๆเช่นสามารถหยิบด้วยมือและรับประทานได้ในราคาเบา ๆ ในทางกลับกันร้านทาโกะยากิสาขาที่ตั้งอยู่ที่ "Juhachiban" ซึ่งเปิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์ที่ต้องการสร้างร้านทาโกะยากิที่เด็กผู้หญิงสามารถแวะมาได้ง่ายๆ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ และมีภาพลักษณ์ที่สวยงามดูไฮโซทั้งๆที่คือร้านเดียวกัน เป็นที่น่าสนใจมากที่มีความแตกต่างด้านรสชาติแม้ว่าจะอยู่ในโอซาก้าเดียวกันก็ตาม ถ้าคุณไปเที่ยวโอซาก้าทำไมไม่ลองกินและเปรียบเทียบทาโกะยากิทางเหนือและทางใต้ดูหล่ะ

■แต่ละร้านมีซอสสูตรเฉพาะของตนเอง

ร้านทาโกะยากิแต่ละร้านจะมีการพัฒนาสูตรซอสของร้านเป็นของตนเอง โดยร้านทาโกะยากิยอดนิยมที่ "พิพิธภัณฑ์ทาโกะยากิที่โอไดบะ" เคยคิดโปรโมชั่นที่สามารถเปลี่ยนซอสทาโกะยากิเป็นซอสของร้านอื่น แต่สรุปแล้วว่ามันไม่ได้อร่อยเลย เพราะแต่ละร้านสร้างสรรค์ซอสสูตรดั้งเดิมที่เข้ากันได้ดีอยู่แล้ว โดยพื้นฐานแล้ว Aizuya เจ้าดั้งเดิมนั้นรับประทานโดยไม่ใส่ซอส เนื่องจากว่าสมัยก่อนร้านตั้งอยู่ริมทางหลวงทำให้คนขับรถแท็กซี่และรถบรรทุกมาแวะซื้อและหยิบรับประทานได้เลยทันทีโดยที่ไม่เปื้อน เป็นเรื่องดีมากที่มีการใส่ใจในจุดเล็กน้อยแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นตัวทาโกะยากิเองแต่ยังรวมถึงซอสด้วย

■เวลาในการกินทาโกะยากิแตกต่างกันไปตามพื้นที่

เสน่ห์อย่างหนึ่งของทาโกะยากิคือไม่มีเวลากินที่ตายตัว ในขณะที่บางคนกินเป็นของว่าง แต่บางคนกินเป็นอาหาร อย่างไรก็ตามยังมีลักษณะขึ้นอยู่กับพื้นที่ต่างๆในคันไซ ดังเช่นในโอซาก้าเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเปิดร้านตั้งแต่กลางวันและมียอดขายสูงในตอนกลางวัน แต่ในเกียวโตมีร้านค้าที่ขายในตอนกลางคืนมากกว่า ร้านทาโกะยากิที่มีชื่อเสียงที่สุดบางแห่งในเกียวโตไม่เปิดให้บริการในช่วงกลางวันและเปิดช่วงเย็นเวลา 17:00 น. เป็นต้นไป เพราะคิดว่าทาโกะยากิเป็นอาหารว่างสำหรับแกล้มระหว่างดื่มเหล้า และการปรุงรสก็เป็นรสชาติที่ทำให้เข้าการดื่มเช่นกัน! 

เมื่อก่อนร้านทาโกะยากิ ที่โอซาก้า จะนิยมเปิดเป็นร้านเล็ก ๆ รวมทั้งร้านแบบรถเข็นหรือไม่ก็เปิดท้ายรถขาย และขายตามงานเทศกาลต่าง ๆ แต่หลังจากที่ทาโกะยากิได้รับความนิยมมากขึ้น ก็เริ่มขยับขยายไปทั่วคันไซ ขายตามร้านที่ใหญ่ขึ้นหรือในห้างสรรพสินค้า และด้วยความที่มีวิธีทำที่ง่าย ชาวญี่ปุ่นจึงนิยมทำทานเองที่บ้าน ปัจจุบัน ในประเทศไทยก็มีร้านขายทาโกะยากิมากมาย แถมยังมีไส้อื่น ๆ ที่นอกเหนือจากปลาหมึกด้วย หากใครยังไม่เคยลองชิมก็ลองหาซื้อกันดูได้ หรือถ้าว่าง ๆ จะลองทำทานเองดูบ้างก็น่าสนุกไปอีกแบบนะ

นักเขียน

WeXpats
นำเสนอบทความที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำงาน และการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น รวมไปจนถึงบทความแนะนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บทความที่เกี่ยวข้อง 関連記事

บทความพิเศษ 特集

บทความยอดนิยม 人気記事

โซเชียลมีเดีย ソーシャルメディア

นำเสนอข้อมูลล่าสุดในญี่ปุ่นใน 9 ภาษา!

  • English
  • 한국어
  • Tiếng Việt
  • မြန်မာဘာသာစကား
  • Bahasa Indonesia
  • 中文 (繁體)
  • Español
  • Português
  • ภาษาไทย
TOP/ การอาศัยในญี่ปุ่น/ อาหารและช้อปปิ้ง/ 【โอซาก้า】เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ทาโกะยากิ (たこ焼き/ Takoyaki) อาหารขึ้นชื่อของโอซาก้า

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของเว็บไซต์ของเรา โปรดคลิก "ยอมรับ" เพื่อยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราโปรดคลิกที่นี่

นโยบายการใช้คุกกี้